คำชี้แจงจากกองบรรณาธิการ “ศิลปวัฒนธรรม” เรื่องการผลิตชิ้นงาน

คำชี้แจงจากกองบรรณาธิการ “ศิลปวัฒนธรรม” เรื่องการผลิตชิ้นงาน

1. ตามที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “Onk Suriyamegha” กล่าวอ้างว่า กองบรรณาธิการ “ศิลปวัฒนธรรม” มีพฤติกรรม “ลอก” กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม ขอนำเรียนข้อเท็จจริงว่า กระบวนการทำงานของกองบรรณาธิการในเรื่องของการคิดประเด็นนั้น ที่ผ่านมา บทความที่กองบรรณาธิการนำเสนอมักจะสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเสมอ เช่นเมื่อเกิดโรคระบาด ทีมงานได้ทำเรื่องโรคระบาดในสมัยโบราณ หรือแง่มุมอื่นเกี่ยวกับโรคระบาด อันเป็นเรื่องปกติของคนทำสื่อที่ต้องหยิบสถานการณ์ปัจจุบันมาพูดถึง ดังที่ได้โพสต์ตัวอย่างงานบางชิ้นด้านท้ายคำชี้แจง

2. จากการตรวจสอบ พบว่าเรื่องดังกล่าว มิได้นำข้อความใดตามที่กล่าวอ้างมาเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งการเขียนงานของทางกองบรรณาธิการยังมีการอ้างอิงตามหลักวิชาการอย่างถูกต้อง

3. ทางกองบรรณาธิการได้ส่งลิ้งก์ “Black Death โรคระบาดครั้งใหญ่ จากจีนถึงไทย สู่ตำนานพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา” ต้นฉบับที่เผยแพร่ในออนไลน์ เทียบกับงานที่ผู้กล่าวอ้างมาเทียบกัน ก็จะพบว่าไม่มีข้อความใดที่คัดลอกมา อันเข้าข่ายการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

4. นอกจากนี้ งานเขียนเรื่อง “Black Death โรคระบาดครั้งใหญ่ จากจีนถึงไทย สู่ตำนานพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา” ในเว็บไซต์ silpa-mag.com กองบรรณาธิการเขียนขึ้นจากแนวคิดของตัวเอง และอ้างอิงข้อมูลจากฐานข้อมูลในระบบ “ศูนย์ข้อมูล” ของเครือบริษัทมติชน ซึ่งมีเก็บข้อมูลเก่าที่เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ มากมายย้อนกลับไปไม่ต่ำกว่า 40 ปี

ข้อมูลต้นทางในศูนย์ข้อมูลที่ใช้อ้างอิงคืองานเขียนเรื่อง “BLACK DEATH โรคห่า กาฬโรค และ Decameron ยุค พระเจ้าอู่ทอง” เผยแพร่ในหน้า “มติชนประชาชื่น” หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับ 1 กรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็นบทความที่เรียบเรียงจากบทสารคดีที่เขียนโดยสุจิตต์ วงษ์เทศ และบทความ “กาฬโรค” สัญลักษณ์ และตำนาน โดย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ เผยแพร่ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2553 เป็นหลัก ประกอบกับข้อมูลอื่น อาทิ “กีโญม เดอ มาโชต์” กับ Black Death ความเปลี่ยนแปลงในสยามประเทศ ช่วงสถาปนากรุงศรีอยุธยา โดย อติภพ ภัทรเดชไพศาล เผยแพร่ใน สยามรัฐ ฉบับ 7 พฤษภาคม 2553 และงานเขียนเรื่อง Black Death: The Disease โดย Dr. Mike Ibeji เผยแพร่ในเว็บไซต์ BBC

ก่อนเขียนบทความ “Black Death โรคระบาดครั้งใหญ่ จากจีนถึงไทย สู่ตำนานพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา” ผู้เขียนบทความนี้ไม่เคยอ่านงานอื่นเกี่ยวกับกาฬโรคและพระเจ้าอู่ทองใดๆ แล้วจึงนำข้อมูลมาเขียนตามที่ปรากฏการกล่าวอ้าง ก่อนหน้าการเขียนบทความ ผู้เขียนยังไม่เคยพบเห็นเพจและบัญชีส่วนตัวของผู้ที่โพสต์ข้อความกล่าวอ้างในเฟซบุ๊กมาก่อน และไม่เคยอ่านงานเขียนใดๆ จากเพจและบัญชีส่วนตัวในเฟซบุ๊กที่ผู้กล่าวหากล่าวอ้าง

การเขียนงานต่างๆ ใน “ศิลปวัฒนธรรม” ทั้งฉบับสิ่งพิมพ์และออนไลน์ ล้วนใช้ระบบอ้างอิงข้อมูลตามหลักสากล บทความที่เผยแพร่ในเว็บไซต์เรื่อง “Black Death โรคระบาดครั้งใหญ่ จากจีนถึงไทย สู่ตำนานพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา” ได้แจ้งแหล่งอ้างอิงกำกับในช่วงท้ายบทความอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นแหล่งอ้างอิงจากหนังสือ หนังสือพิมพ์ และออนไลน์ เพื่อให้สามารถสืบค้นและทราบที่มาที่ไปของข้อมูลต่างๆ
.
ข้อกล่าวหาเรื่อง “ลอก” และ “ขโมย” ไอเดียงานเขียนนั้น จึงเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง และไม่เป็นความจริง เนื่องจากเหตุผลที่อธิบายข้างต้น อีกทั้งข้อมูล หลักฐาน และแนวการวิเคราะห์เรื่องตำนานพระเจ้าอู่ทองกับโรคระบาดอย่างกาฬโรค ที่ผ่านมาล้วนมีนักวิชาการวิเคราะห์ เขียนบทความต่างๆ เผยแพร่ก่อนหน้านี้แล้วเป็นเวลานับสิบปี ดังเช่น บทความ “BLACK DEATH โรคห่า กาฬโรค และ Decameron ยุค พระเจ้าอู่ทอง” เผยแพร่ในหน้า “มติชนประชาชื่น” หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับ 1 กรกฎาคม 2553 และบทความเรื่อง “โรคระบาดยุคพระเจ้าอู่ทอง ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับ วัน วลิต” โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ ปรากฏในเอกสาร “BLACK DEATH โรคห่า กาฬโรค ยุคพระเจ้าอู่ทอง ฝังโลกเก่า ฟื้นโลกใหม่ได้ “ราชอาณาจักรสยาม” ซึ่งจัดพิมพ์โดย กระทรวงวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2553 หรืองานเขียนอื่นๆ ก็มีปรากฏขึ้นหลากหลายโดยผู้เขียนท่านอื่นอีกจำนวนมาก

ดังนั้น กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรมขอยืนยันว่า กอง บก. มิได้คัดลอก หรือขโมยแนวคิดตามที่ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Onk Suriyamegha” กล่าวอ้างแต่อย่างใด

5. ทางกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม โดยบริษัทมติชนจำกัด (มหาชน) ขอสงวนสิทธิ์ในการดำเนินคดีตามกฎหมายแก่ผู้ที่แสดงความคิดเห็นในคอมเมนต์ และแชร์โพสต์ดังกล่าว อันจะทำให้กองบรรณาธิการ โดยบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง เสียหาย หรือเกิดความเข้าใจบกพร่องคลาดเคลื่อนแก่สาธารณชน อันจะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

(ตัวอย่างชิ้นงานที่ผ่านมา)

จากวัดไทรตีระฆัง ส่องสังคมพุทธปลายอยุธยา ชนชั้น “สูง” ยังพึ่ง “พิธีกรรม-ความศักดิ์สิทธิ์”

“หน้าตา และบุคลิก” ของท้าวทองกีบม้าในหน้าประวัติศาสตร์

เส้นทางผู้ตั้ง “อิลลูมิเนติ” กลุ่มลับที่น่ากลัวน้อยกว่า “ฟรีเมสัน” ทำไมโดนกวาดล้าง?

ก่อนเจ๊ศรี ในเรื่องหลวงปู่เค็มได้อยู่ข้างหอนาฬิกา คติสร้างหอสูงบอกเวลาในสยามมาจากไหน?

กำเนิด “นิ้วกลาง” สัญลักษณ์แห่งองคชาติ ท่าทางดูหมิ่นโบราณอายุนับพันปี

เมื่อ “หนักแผ่นดิน” เพลงสู้คอมมิวนิสต์ดังในทีวี-วิทยุ ช่วงบ่ายหลังปราบ 6 ตุลา

“นรินทร์กลึง” อดีตขุนนางชั้นเจ้าเมือง ผู้กล้าส่งจดหมายด่าจอมพล ป. “มึงต้องลาออกเดี๋ยวนี้”

“นรินทร์กลึง” อดีตขุนนางโดนคดีขบถ “ภัยต่อความสงบ” ติดคุกยังร่อนจดหมายไปทั่ว

กว่าจะเป็น “จิราธิวัฒน์” เจ้าของห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ทำไมต้องใช้ชื่อ “เซ็นทรัล” ?