ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระภรรยาเจ้า เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม รวม 152 ท่าน ในจำนวนนี้ พระภรรยาเจ้า ในรัชกาลที่ 5 มีเพียง 9 พระองค์เท่านั้น
คำว่า “พระภรรยาเจ้า” ไม่ได้หมายถึงสตรีทั้งหมดที่ถวายตัว แต่มีความหมายเฉพาะเจาะจง คือ หมายถึงพระราชธิดาหรือพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนๆ หากเป็นพระราชธิดาจะใช้ว่า “พระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง” หากเป็นพระราชนัดดาจะใช้ว่า “พระภรรยาเจ้าชั้นหลานหลวง”
พระภรรยาเจ้า ในรัชกาลที่ 5 มีด้วยกัน 9 พระองค์ ดังนี้
พระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
1. สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ
2. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
3. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
4. พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี
5. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี
พระภรรยาเจ้าชั้นหลานหลวง (พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)
1. พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
2. พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา
3. พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ
พระภรรยาเจ้าจากประเทศราช
1. เจ้าดารารัศมี พระราชชายา
ด้าน “พระยศ” ของพระราชโอรสหรือพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 แบ่งเป็น 3 ลำดับชั้นยศ ขึ้นอยู่กับพระยศของพระราชมารดา คือ
สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นเอก คือพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง เรียกลำลองว่า “ทูลกระหม่อม”
สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นโท คือพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่พระภรรยาเจ้าชั้นหลานหลวง เรียกลำลองว่า “สมเด็จ”
พระองค์เจ้า คือพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา (สตรีสามัญชน) เรียกลำลองว่า “เสด็จ”
อ่านเพิ่มเติม :
- สกุลยศ “เจ้าฟ้า” และ “พระองค์เจ้า” ต่างกันอย่างไร?
- ทำไม “สมเด็จพระพันปีหลวง” พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 ทรงนอนตอนเช้า และทรงตื่นในเวลาค่ำ?
- สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า กับ “คำฝากฝัง” ที่ไม่มีผู้ใดสนองแม้สักคน เพราะเหตุใด?
- เจ้าดารารัศมี “เมียโปลีซี” ของรัชกาลที่ 5
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
“สำนัก” แหล่งเรียนรู้วิถีกุลสตรีชาววังของ “ฝ่ายใน” สมัยรัชกาลที่ 5
ฉัตรดาว ลีเชวงวงศ์. “การเมืองในราชสำนักฝ่ายใน ในสมัยรัชกาลที่ 5”. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการจัดการปกครอง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 6 พฤษภาคม 2567