ผีกะ ผีถิ่นเหนือ ใครไม่อยากเป็นแล้ว แค่เอาน้ำลายไปป้ายปาก “แมว” ?

แมว ผีกะ ผีกละ
ภาพ : unsplash

“ผีกะ” (ผีกละ) เป็นผีในพื้นถิ่น “ภาคเหนือ” ที่อยู่ร่วมกับความเชื่อ สังคม และวัฒนธรรมของชาวบ้านเป็นระยะเวลานาน การสืบทอด “ผีกะ” มักสืบทอดจากทาง ฝั่งแม่ โดยจะให้ลูกสาวคนโต หรือ คนเล็กเป็นผู้รับช่วงต่อ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป หลายครอบครัวไม่อยากเลี้ยงผีกะต่อจากบรรพบุรุษ จึงทำให้มีความเชื่อว่า หากไม่อยากเป็นผีกะต่อจากแม่ ให้เอาน้ำลายของคนที่เป็นผีกะ ไปป้ายปาก “แมว” (?)

“สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม ๘ ปางหมู, วัด-พระธาตุ” กล่าวถึงความเชื่อนี้ ไว้ในหัวข้อ “ผีกะ” ว่า 

“ผีกละเป็นผีในตระกูลผีเมง เป็นผีที่สืบสกุลทางฝ่ายมารดาคือธิดาคนเล็ก (บางท่านว่าธิดาคนโต) ในครอบครัวผีกละจะต้องเป็นผีกละสืบจากมารดา ซึ่งหากครอบครัวนั้นไม่มีลูกสาวหรือลูกสาวไม่ปรารถนาจะรับเป็นผีกละแล้ว ก็จะเอาน้ำลายของผู้ที่เป็นผีกละนั้นป้ายที่ปากแมว ทำให้แมวนั้นรับสภาพเป็นผีกละไป…

หลังจากรับความเป็น ผีกละ มาแล้ว จาก แมว ที่เคย “น่ารักสดใส” ก็จะกลายมาเป็นแมวที่ชอบกิน “ของดิบสด” หรือที่หลายคนรู้จักว่า “แมวโพง”

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง : 

อุดม รุ่งเรืองศรี. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ ๘ ปางหมู, วัด-พระธาตุ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542.


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 18 มกราคม 2567