ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
“สมเด็จโต” แห่ง วัดระฆังโฆสิตาราม ท่านเป็นผู้ชำนาญบาลีและเทศนา เป็นทั้งนักเรียนดี และครูดี เสียดายว่าคนยุคนี้ เห็นท่านไปในทาง “อภินิหาร” เสียมากกว่า
“พระเทพกระวีมีพรรษายุกาลประกอบด้วยรัตตัญญูมหาเถรธรรมยั่งยืนนาน แลมีปฏิภาณปรีชา ตรีปิฎกกลาโกศล แลฉลาดในโวหารนิพนธ์เทศนาปริวัติวิธีแลทำกิจในสุตนั้นด้วยดีไม่ย่อหย่อน อุสาหะสั่งสอนพระภิกษุสามเณรโดยสมควร
อนึ่งไม่เกียจคร้านในราชกิจบำรุงพระบรมราชศรัทธาฉลองพระเดชพระคุณเวลานั้น ๆ สมควรเป็นที่อรัญญิกมหาสมณคณิศราจารย์พระราชาคณะผู้ใหญ่ มีอิศริยยศยิ่งกว่าสมณนิกรฝ่ายอรัญวาสี เป็นอธิบดีครุฐานิยพิเศษ ควรสักการบูชาแห่งนานาเนกบรรพสัช บรรดารนับถือพระบรมพุทธสาสนาได้
จึงมีพระบรมราชโองการมา ณ พระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่ง ให้สถาปนาพระเทพกระวี ศรีสุทธินายก ตรีปิฎกปรีชามหาคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี เลื่อนที่ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา วิสุทธิจรรยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ ศิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร พระอารามหลวง”
ความตอนหนึ่งในคำประกาศสถาปนา “พระเทพกระวี (โต)” เป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)” เมื่อ พ.ศ. 2407 เนื่องในวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดเจ้าประคุณสมเด็จฯ รูปนั้น (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331)
อ่านเพิ่มเติม :
- 22 มิถุนายน 2415 เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มรณภาพ
- “แม่นาก” ผีชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต (สมเด็จโต) พระผู้ใหญ่ได้อย่างไร
ข้อมูลจาก :
พระมหาปกรณ์ กิตฺติธโร ป.ธ.9 วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 17 เมษายน 2561