ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มรณภาพ
“พระเทพกระวีมีพรรษายุกาลประกอบด้วยรัตตัญญูมหาเถรธรรมยั่งยืนนาน แลมีปฏิภาณปรีชา ตรีปิฎกกลาโกศล แลฉลาดในโวหารนิพนธ์เทศนาปริวัติวิธีแลทำกิจในสุตนั้นด้วยดีไม่ย่อหย่อน อุสาหะสั่งสอนพระภิกษุสามเณรโดยสมควร อนึ่งไม่เกียจคร้านในราชกิจบำรุงพระบรมราชศรัทธาฉลองพระเดชพระคุณเวลานั้น ๆ สมควรเป็นที่อรัญญิกมหาสมณคณิศราจารย์พระราชาคณะผู้ใหญ่ มีอิศริยยศยิ่งกว่าสมณนิกรฝ่ายอรัญวาสี เป็นอธิบดีครุฐานิยพิเศษ ควรสักการบูชาแห่งนานาเนกบรรพสัช บรรดารนับถือพระบรมพุทธสาสนาได้
จึงมีพระบรมราชโองการมาณ พระบัณฑูรสุ รสิงหนาทดำรัสสั่ง ให้สถาปนาพระเทพกระวี ศรีสุทธินายก ตรีปิฎกปรีชามหาคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี เลื่อนที่ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา วิสุทธิจรรยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ ศิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร พระอารามหลวง”
ความตอนหนึ่งในคำประกาศสถาปนาพระเทพกระวี (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อปี พ.ศ. 2407 เป็นอนุสารณีย์เนื่องในวันคล้ายวันมรณภาพแห่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ รูปนั้น (หมายเหตุ : สมเด็จฯ มรณภาพเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415)
อ่านเพิ่มเติม :
- “แม่นาก” ผีชาวบ้านเริ่มเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พระผู้ใหญ่ได้อย่างไร
- 17 เมษายน วันคล้ายวันเกิด “สมเด็จโต” ครูดีที่คนปัจจุบันมองเชิงอภินิหาร
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 22 มิถุนายน 2561