
ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
สำรวจร่องรอย “ระฆัง” คู่บ้านคู่เมืองของ “พม่า” ที่มีชื่อว่า “ระฆังพระเจ้าจิงกูจา” ว่ากันว่า อังกฤษพยายามขนกลับประเทศแต่ไม่สำเร็จ!?
ภาพวาดสีน้ำชิ้นนี้เป็นฝีมือของ ร.ท. โจเซฟ มัวร์ (Lieutenant Joseph Moore) แห่งกองร้อยที่ 89 กองทัพอังกฤษ เป็นหนึ่งในภาพชุดของมัวร์ที่ถูกนำออกเผยแพร่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1825-1826 ซึ่งเป็นภาพชุดจากหลายสถานที่ในช่วงที่เกิดสงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1824-1826) เพื่อแย่งชิงอำนาจในการครอบครองดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งพม่าต้องเสียเมืองย่างกุ้งให้กับอังกฤษไปในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1824
ภาพนี้เป็นภาพบริเวณลานกว้างรอบเจดีย์ชเวดากองของพม่าจากคำบรรยายภาพ ระฆังทางขวามือเป็นระฆังที่หล่อขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1779 หนัก 23.1 ตัน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.4 เมตร สูงจากพื้น 0.46 เมตร ซึ่งตรงกับลักษณะของ ระฆังพระเจ้าจิงกูจา (Singu Min’s Bell) หนึ่งในระฆังคู่บ้านคู่เมืองของชาวพม่าที่อังกฤษพยายามขนกลับประเทศหลังยึดย่างกุ้งได้สำเร็จ

โดยอังกฤษได้เคลื่อนระฆังขึ้นแพเพื่อต่อไปยังเรือที่จอดรออยู่ แต่ระฆังเกิดพลัดตกลงแม่น้ำ กองทัพอังกฤษพยายามกู้ระฆังเป็นเวลากว่า 7 วันก็ไม่สำเร็จ
ภายหลังแกนนำพระสงฆ์ชาวพม่ารายหนึ่งจึงได้รับอนุญาตจากอังกฤษให้กู้ระฆังใบนี้ได้ และชาวพม่าก็ทำได้สำเร็จด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยการผูกระฆังกับเสาเรือในช่วงน้ำลง เมื่อน้ำขึ้นกระแสน้ำก็ช่วยดึงให้ระฆังหลุดจากโคลนได้ ระฆังใบนี้จึงถูกนำมาติดตั้งไว้ที่เจดีย์ชเวดากองตามเดิม
อ่านเพิ่มเติม :
- ระฆัง ใหญ่สุดในไทย ที่วัดกัลยาณมิตร ช่างไทยหล่อไม่สำเร็จ ช่างญี่ปุ่นหล่อ 3 ครั้ง
- ระฆังฝรั่งสามใบเถา หอระฆังยอดมงกุฎ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
- ย้อนอดีตการตีระฆังของพระสงฆ์ และมูลเหตุการทำระฆังเล็กถวายวัด มีที่มาจากไหน?
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
Burma Press Summary from The Working People’s Daily Vol. II, No. 2, February 1988.
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 20 กรกฎาคม 2561