“เก็จ” และ “ลวดบัว” คืออะไร?

โบราณสถาน ปราสาทพนมรุ้ง ปรากฏ เก็จ และ ลวดบัว ภาพจาก กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร (www.finearts.go.th)
ปราสาทพนมรุ้ง ภาพจาก กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร (www.finearts.go.th)

หากอยู่ในวงการวิชาการด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี หรือไปท่องเที่ยวใน โบราณสถาน คงจะเคยได้ยินคำว่า “เก็จ” และ “ลวดบัว” กันบ้าง 

แล้ว 2 อย่างนี้คืออะไร อยู่ตรงไหนของโบราณสถานกันแน่?

พูดง่าย ๆ เลย คือ เวลาที่เราเห็นโบราณสถานต่าง ๆ จะเห็นผนังมีการยุบเข้าและยื่นออก เกิดเป็นเส้นแนวตั้ง เห็นเป็นความสวยงามที่เต็มไปด้วยความสลับซับซ้อน อันนี้เรียกว่า “เก็จ”

ส่วน “ลวดบัว” คือแถบนูนในแนวของผนัง ส่วนใหญ่แล้วมักพบตรงฐาน  

เก็จ ลวดบัว
วิธีสังเกตดู เก็จ และ ลวดบัว ใน โบราณสถาน

แม้ว่าเก็จและลวดบัวจะไม่มีประโยชน์ในด้านการใช้งานนัก แต่เหตุที่ทำให้โบราณสถานมีลวดบัวและเก็จ เพราะต้องการแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน สวยงาม เหมาะสำหรับการเป็นที่อยู่อาศัยของ “เทพเจ้า” อีกทั้ง สองอย่างนี้ยังทำให้เกิดความงดงาม ขณะที่แสงกำลังทอดตัวลงมา จนเป็นแสงและเงาที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์ยังใช้เก็จและลวดบัว จำแนกความแตกต่างของศิลปะแต่ละยุค เนื่องจากแต่ละช่วงจะมีเก็จและลวดบัวที่ไม่เหมือนกัน รวมถึงยังใช้เชื่อมโยงอิทธิพลของอินเดีย สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ละภูมิภาคได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :

เชษฐ์ ติงสัญชลี. ปราสาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : มติชน, 2565.


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 13 มีนาคม 2567