“ปราสาท” และ “เทวาลัย” แตกต่างกันอย่างไร?

เทวาลัย ปราสาท ใน อินเดีย
อ่างเก็บน้ำของวัดในทมิฬนาฑู อินเดีย ช่วง 1860 (ภาพ : www.clevelandart.org)

เคยสงสัยไหม “ปราสาท” และ “เทวาลัย” ที่ดูเหมือนจะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกัน มีความหมายเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?

เอาแบบสั้น ๆ ง่าย ๆ ได้ใจความ “ปราสาท” เหมือนเป็นภาพใหญ่ของคำว่า “เทวาลัย” อีกทีหนึ่ง หากให้จำกัดความคำว่าปราสาท ก็คงเป็น “เรือนซ้อนชั้น” ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นเรือนที่มีฐานันดรสูง 

อย่างในคัมภีร์โบราณของอินเดีย ไม่ว่าจะเป็น “คัมภีร์มัตสยปุราณะ” ก็ได้กล่าวว่า ปราสาทคืออาคารที่มีตั้งแต่ 16 ชั้นลงมา หรือคัมภีร์มยมตัมก็ได้กล่าวว่า ปราสาทอาจมี 1-12 ชั้นได้ เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม ปราสาท ถือเป็นที่อยู่ของกลุ่มที่มีฐานันดรสูง เนื่องจากการจะสร้าง “เรือนซ้อนชั้น” หรือความซับซ้อนสูงได้ขนาดนี้ ต้องเป็นคนที่มั่งคั่งและมีกำลังคนพอในการสร้าง 

ปราสาทจึงถือเป็นสถานที่สำหรับกษัตริย์ จวบจนเทพ เทวดาชั้นฟ้า เป็นต้น

แล้วเทวาลัยต่างหรือเหมือนกับปราสาทอย่างไร?

เรื่องนี้ไม่ยาก เทวาลัยนั้นอยู่ภายใต้คำว่าปราสาทอีกที แม้เทวาลัยจะไม่มีการกำหนดว่าจะต้องเป็นอาคารทรงใด จะชั้นเดียวหรือซ้อนชั้นเหมือนปราสาทก็ได้ 

แต่ด้วยความเชื่อเรื่องเทพเจ้าเป็นผู้ที่มีฐานันดรสูงสุดในจักรวาล ชาวอินเดียจึงมักกำหนดให้ “เทวาลัยต้องเป็นปราสาทเสมอ” เพราะมีความซับซ้อน เหมาะสมกับตำแหน่งและฐานันดรของเทพเจ้า 

อีกอย่างคือเทวาลัยเป็นที่อยู่ของเทพเจ้าเท่านั้น (เทวาลัยมาจากคำว่า เทวะ = เทพเจ้า, อาลัย = ที่อยู่) แตกต่างจากปราสาทที่กลุ่มผู้มีฐานะและอำนาจก็สามารถอยู่ได้

นอกจากนี้ “เทวาลัย” ยังต้องทำมาจากวัสดุอันแข็งแกร่ง อย่าง “หิน” หรือ “อิฐ” เสมอ เพื่อให้เทวาลัยอยู่ยั้ง ยืนยงตลอดไป 

จากทั้งหมดนี้คงทำให้ใครหลายคนเข้าถึงความเหมือนและต่างของทั้ง 2 สถานที่นี้ได้ดีมากยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง : 

เชษฐ์ ติงสัญชลี. ปราสาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : มติชน, 2565.


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2567