ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
อย่างที่ปรากฏอยู่ในบทความก่อนหน้าว่า “ปราสาท” และ “เทวาลัย” มีความแตกต่างกันตรงที่ปราสาทเป็นภาพใหญ่ของเทวาลัย และเทวาลัยจำกัดว่าเป็นที่อยู่ของเทพเจ้าเท่านั้น (อ่านบทความนี้ได้ที่นี่ คลิก) ครั้งนี้ก็ถึงโอกาสที่จะมาพูดถึงสถูปและปราสาทต่างกันอย่างไร

สถูปและปราสาทต่างกันอย่างไร?
“ปราสาท” ถือว่าเป็นสถานที่ “อยู่อาศัย” ของผู้มีอำนาจและมั่งคั่งด้วยสินทรัพย์ นับตั้งแต่กษัตริย์ไปจนถึงเทพเจ้า อาจมีได้ตั้งแต่ 16 ชั้นลงมา หรือ 11-12 ชั้น ขึ้นอยู่กับคัมภีร์ที่กำหนดไว้
ด้านในสามารถเข้าไปได้ และมีห้องที่เรียกว่า “ครรภคฤหะ” ซึ่งเป็นห้องที่มีประตูสำหรับเข้าไปภายใน การมีประตูเป็นสิ่งสำคัญมากของปราสาท เพราะหากไม่มีประตูจะเข้าไปไม่ได้ และไม่นับว่าเป็นที่อยู่เทพเจ้า
ด้าน “สถูป” เรียกได้ว่าเป็น “หลุมฝังศพ” มีไว้เพื่อประดิษฐานอัฐิ จึงทำให้ด้านในเข้าไปไม่ได้ ห้องนั้นต้องปิดตาย หรือที่เรียกว่า “กรุ” โดยห้องไร้ทางออกนี้ มีหน้าที่เพื่อตรึงของล้ำค่าที่สุด อย่าง พระบรมสารีริกธาตุ ให้อยู่กับที่ตลอดไป และทำให้ของที่ดูเล็ก กลับยิ่งใหญ่ สามารถเห็นเด่นตามาแต่ไกล นั่นเอง
ด้วยความเชื่อทางศาสนาฮินดูที่มองว่า เทพไม่มีการเกิดหรือตาย จึงทำให้ปราสาทเป็นสิ่งเดียวที่ถูกยอมรับในศาสนาฮินดู และไม่ปรากฏการสร้างสถูปพระศิวะหรือสถูปพระวิษณุ
แต่ “สถูป” จะได้รับการยอมรับในกลุ่มศาสนาพุทธเถรวาท เนื่องจากมีความเชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ปรินิพพานไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กล่าวไปนั้นเป็นเพียงรูปร่างลักษณะโดยกว้างเท่านั้น ยังมีรายละเอียดเล็ก ๆ ที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องว่ากันไปในแต่ละแบบ

อ่านเพิ่มเติม :
- “ปราสาท” และ “เทวาลัย” แตกต่างกันอย่างไร?
- กำเนิดเทวาลัย “พระแม่อุมาเทวี” แห่ง “วัดแขก” (สีลม) มหาเทวีแห่งอำนาจวาสนา
- “ปราสาทจาม” คล้ายคลึงกับปราสาทเขมรจนชวนสับสน แต่มีลักษณะเฉพาะซ่อนอยู่
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
เชษฐ์ ติงสัญชลี. ปราสาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : มติชน, 2565.
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2567