7 กันยายน 2488 ไทยเปลี่ยนชื่อประเทศอีก! กลับไปใช้ชื่อ “Siam” ในภาษาอังกฤษ

แผนที่ สยาม siam ไทย เปลี่ยนชื่อประเทศไทย
แผนที่สยามของชาวอังกฤษเก่าแก่สุด พิมพ์ที่กรุงลอนดอน ราว ค.ศ. 1678-9/พ.ศ. 2221-2 (ภาพคอลเลคชั่นของคุณธวัชชัย ตั้งศิริวานิช)

7 กันยายน 2488 เปลี่ยนชื่อประเทศไทยอีกครั้ง! กลับไปใช้ชื่อ “Siam” ในภาษาอังกฤษ

“ตามที่ได้มีการประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2483 ซึ่งในภาษาอังกฤษให้ใช้ชื่อเรียกประเทศไทยว่า ‘Thailand’ ชื่อประชาชนและสัญชาติว่า ‘Thai’ นั้น

บัดนี้ รัฐบาลได้พิจารณาว่า โดยที่ชื่อของประเทศเราเป็นที่นิยมเรียกกันทางต่างประเทศว่า ‘Siam’ จนเป็นที่รู้จักกันอย่างดีทั่วไปมาช้านานแล้ว ฉะนั้นจึงให้ชื่อประเทศในภาษาอังกฤษว่า ‘Siam’ กับชื่อประชาชนและสัญชาติให้ใช้ว่า ‘Siamese’ สำหรับในภาษาต่างประเทศอื่นให้ใช้โดยอนุโลม ส่วนชื่อในภาษาไทยให้คงใช้ว่า ‘ไทย’ ไปตามเดิม

ประกาศ ณ วันที่ 7 กันยายน 2488

ทวี บุณยเกตุ (นายกรัฐมนตรี)”

ที่มา : ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ จากหนังสือ รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (2475-2517)

ทวี บุญยเกตุ นายกรัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งระยะสั้นๆ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ทั้งนี้ คำประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังญี่ปุ่นยอมจำนนต่อสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เพียงไม่ถึง 1 เดือน ซึ่งชาญวิทย์ เกษตรศิริ มองว่าเป็น “สารที่ผู้นำไทยอีกฝ่ายหนึ่ง คือ ฝ่ายเสรีนิยมของ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ ร่วมกับฝ่ายอนุรักษ์นิยม (เจ้านาย) ต้องการสื่อกับฝรั่งตะวันตกผู้พิชิตสงครามเสียมากกว่า”

แต่เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับมามีอำนาจอีกครั้งผ่านการรัฐประหาร ในปี 2490 ชื่อประเทศไทยในภาษาอังกฤษ ก็ถูกเปลี่ยนกลับไปใช้ว่า “Thailand” อีกครั้ง

แผนที่สยาม ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1764 (Author: Bellin, Jacques Nicolas, 1703-1772)

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่ 


อ้างอิง :

“จาก สยาม เป็น ไทย นามนั้นสำคัญไฉน?” โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 7 กันยายน 2563