ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
ตำนาน “สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ” โปรดเสวย “ปลาตะเพียน” มาจากไหน?
ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 82 เรื่อง พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของ บริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน หน้า 307 กล่าวถึงช่วงที่ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เสด็จขึ้นครองราชย์ว่า พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเข้าพระราชวัง และเสด็จไปอยู่ ณ พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ข้างท้ายสระ
เมื่อพระองค์เสด็จเสวยราชสมบัตินั้น พระชนม์ได้ 28 พระพรรษา ทรงพระกรุณาโปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราช คือ เจ้าฟ้าพร ประดิษฐาน ณ ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และบรรดาข้าหลวงเดิมทั้งหลายที่มีความชอบ ก็พระราชทานยศศักดิ์ให้โดยสมควรแก่ฐานานุรูปด้วยทุกคน
ส่วนเรื่องที่ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ โปรดเสวย ปลาตะเพียน พระราชพงศาวดารฉบับดังกล่าวระบุไว้ว่า
“ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประพฤติเหตุในอโนตัปปธรรม แล้วเสด็จเที่ยวประพาสทรงเบ็ดเหมือนสมเด็จพระราชบิดา แล้วพระองค์พอพระทัยเสวยปลาตะเพียน ครั้งนั้นตั้งพระราชกำหนดห้ามมิให้คนทั้งปวงรับพระราชทานปลาตะเพียนเป็นอันขาด ถ้าผู้ใดเอาปลาตะเพียนมาบริโภค ก็ให้มีสินไหมแก่ผู้นั้นเป็นเงินตรา ๕ ตำลึง”
ถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังมีข้อสงสัยว่า เหตุใดพระองค์ถึงทรงห้ามมิให้ราษฎรกินปลาตะเพียน ทั้งที่อยุธยาสมัยนั้นอุดมสมบูรณ์ด้วย “ข้าว” และ “ปลา” ทั้งยังจะปรับเป็นเงินมากถึง 5 ตำลึงอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม :
- ก้างก็เยอะ-กินก็ยาก! ทำไม “พระเจ้าท้ายสระ” ถึงโปรดเสวย “ปลาตะเพียน”
- รู้จัก “พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์” สุดอลังการ ที่มาพระนาม “สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ”
- เหตุใด “พระองค์เจ้าดำ” ถูกพระเจ้าท้ายสระสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์?
- พระราชโอรส “พระเจ้าท้ายสระ” ชวดบัลลังก์ เหตุ “พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ” มีกุนซือดี
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 30 ตุลาคม 2566