ทำไมคนไทยเรียกคนอินเดียว่า “แขก” ?

อินเดีย คนอินเดีย แขก ที่ โกลกาตา
คนที่ โกลกาตา ประเทศอินเดีย ช่วง 1890-1910 (ภาพ : www.clevelandart.org)

อย่างที่รู้กัน คนไทยมักมีคำเรียกแทนตัวชนชาติอื่น ๆ อยู่มากมาย เช่น ฝรั่ง ที่ใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 บัญญัติไว้ เรียก “ชนชาติผิวขาว”, เจ๊ก ที่มีไว้เรียกคนจีน ซึ่งภายหลังหลายคนมักใช้คำนี้ในเชิงเหยียด แต่ในพจนานุกรมฉบับเดียวกันก็ได้นิยามคำนี้ว่าเป็น คำเรียกคนจีน” รวมถึง “แขก” ที่เอาไว้เรียก คนอินเดีย

แล้วเคยสงสัยไหมว่าทำไม คนไทย ต้องเรียก คนอินเดีย ว่า “แขก” ?

กรุณา กุศลาสัย นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต และภารตวิทยา ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ในบทความ “เกร็ดความรู้เกี่ยวกับศาสนาสิกข์” บนนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 เดือนมกราคม พ.ศ. 2543 ว่า

“ในสมัยก่อนแขกที่มาอยู่เมืองไทยได้เปรียบกว่าคนจีน ถูกคนไทยดูถูกน้อยกว่า เพราะคนไทยที่มีการศึกษาจะคิดว่าแขกนี่มาจากเมืองพระพุทธเจ้านะ พระพุทธเจ้าเกิดในเมืองแขก พระพุทธเจ้าเป็นแขก คนไทยให้เกียรติมากกว่า เรียกว่า เป็นแขก เป็นอาคันตุกะผู้มาเยือน” 

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนไทยถึงเรียก “คนอินเดีย” ว่า แขก นั่นเอง 

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2567