กำเนิด “ลูกชุบ” สมัยอยุธยา ต้นตำรับใช้อัลมอนด์ ไม่ใช่ถั่วเขียว!

ลูกชุบ มี สมัย อยุธยา เดิมใช้ อัลมอนด์
ลูกชุบชุดน้ำพริกปลาทู ร้านลูกชุบนายคชา (ภาพโดย พัชรพร องค์สรณะคมกุล ใน เส้นทางเศรษฐีออนไลน์, 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562)

“ลูกชุบ” (Fruit Shaped Mung Beans) เป็นขนมหวานจากแคว้นอัลการวี (Aigaeve) ของโปรตุเกส เรียกว่า Massapaes ทําจากเม็ดอัลมอนด์บดกวนกับน้ำตาล ปั้นเป็นรูปต่าง ๆ สําหรับแต่งหน้าเค้ก พ่อค้าชาวโปรตุเกสนำเข้ามายัง “อยุธยา” ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

คนที่มีส่วนสําคัญคือ มารีปินยา เดอ กีย์มาร์ (Dona Maria del Pifia) หรือ “ท้าวทองกีบม้า” เชื้อสายญี่ปุ่น-โปรตุเกส ภรรยาเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ หรือฟอลคอน (Constantine Phaulkon) ทําหน้าที่ชาววิเสทหรือแม่ครัวประจําราชสํานัก

Advertisement
ลูกชุบ
ลูกชุบชุดต้มยำกุ้ง ร้านลูกชุบนายคชา (ภาพโดย พัชรพร องค์สรณะคมกุล ใน เส้นทางเศรษฐีออนไลน์, 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562)

จากพื้นฐานขนมไทยที่เดิมมีเพียง แป้ง น้ำตาล และมะพร้าว ได้เพิ่มไข่ รวมทั้งการอบที่เป็นเทคโนโลยีการอาหารของโปรตุเกส เกิดนวัตกรรมและอาหารใหม่ ๆ เช่น ขนมไข่ ขนมผิง ไข่เต่า หม้อแกง สําปันนี ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ทองโปร่ง ทองพลุ ทองม้วน สังขยา รวมทั้ง ลูกชุบ ที่ใช้ “ถั่วเขียว” แทน อัลมอนด์ ปั้นเป็นรูปผลไม้ แต้มสี ชุบวุ้น แต่เดิมทํากันเฉพาะในวัง ทําแจกให้เด็ก ๆ ในงานเทศกาล (กมลชนก พูลสวัสดิ์, 2556) ต่อมาแพร่หลายสู่ประชาชนทั่วไป

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


หมายเหตุ : คัดเนื้อหาส่วนหนึ่งจากบทความ “ข้างสำรับไทย : เป็นไทยที่ลำต้นกิ่งก้านใบดอกผล รากเหง้าปะปนหลากเผ่าหลายพันธุ์” เขียนโดย ดร. องค์ บรรจุน ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2565 [เว้นวรรคคำ ปรับย่อหน้าใหม่ และเน้นคำเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม]


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 10 เมษายน 2566