ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
จากข้อมูลในหนังสือ “ประวัติศาสตร์การพิมพ์ในประเทศไทย สยามพิมพการ” ระบุว่า สิ่งพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก เกิดขึ้นโดยศาสนาจารย์โรบินสัน ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2379
ตามที่ปรากฏในบันทึกของหมอบรัดเลย์ดังนี้
“วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2379 วันนี้ เรเวอเรนต์รอบินสัน ได้ส่งหนังสือพิมพ์แผ่นหนึ่งเป็นตัวอักษรไทยมาให้หมอบรัดเลย์ พิมพ์แยกถ้อยคำถูกต้องดีมาก หนังสือฉบับนี้ หมดบรัดเลย์ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ไทยฉบับแรกที่พิมพ์ขึ้นในเมืองไทย”
สิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกนี้คือหนังสือบัญญัติสิบประการ พร้อมกับคำนำ และคำอธิบาย คำอธิษฐานสั้นๆ และเพลงสรรเสริญ 3 บท ขนาด 8 หน้ายก จำนวนพิมพ์ 1,000 เล่ม ยังคงใช้ตัวพิมพ์ชุดที่หมดบรัดเลย์ซื้อมาจากสิงคโปร์
สิ่งพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่หลงเหลืออยู่
อ่านเพิ่มเติม :
- สั่งริบหนังสือกฎหมาย โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์
- “หมอบรัดเลย์” ชี้ สยามควรออกกฎหมายห้ามการมีเมียมาก
- วาทกรรมว่าด้วย “ผัวเดียวหลายเมีย” จากหมอบรัดเลย์ ถึงรัชกาลที่ 4
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 3 มิถุนายน 2561