“มกร” ปลามีงวงช้าง ศิลปะรุ่นแรกแห่งเมืองศรีมโหสถ

มกร สระแก้ว เมืองศรีมโหสถ ลายเส้นมกรลักษณะเป็นปลา
ภาพด้านซ้าย เป็นภาพถ่ายมกร ริมสระแก้ว เมืองศรีมโหสถ (ภาพจากหนังสือ "ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ 2") ภาพด้านขวา เป็นภาพลายเส้นมกรที่ริมสระแก้ว เมืองศรีมโหสถ ยังมีลักษณะเป็นปลา (ภาพจากหนังสือ "ฝรั่งหายคลั่ง (หรือยัง?)")

ศิลปะรุ่นแรกที่ปรากฏที่เมืองศรีมโหสถอยู่ที่ ริมสระแก้ว, ที่ประกอบด้วยช้าง, สิงห์ และ มกร

มกร (Makara) นี่แหละเป็นตัวกำหนดอายุของศิลปะ, เพราะในประวัติศาตร์ศิลป์ของอินเดียมีวิวัฒนาการที่เห็นได้ชัดเจน

ครั้งแรกชาวอินเดีย (ที่ไม่ค่อยสนใจทะเล) ชอบใจที่เห็นปลาโลมา (ปลาที่มีงวงช้าง) ในศิลปะกรีก-โรมัน จึงรับเข้ามา

ต่อมาศิลปิน (ที่ไม่ถนัดสัตวศาสตร์) ได้พัฒนา “ปลาที่มีงวง” ให้มีขาอย่างสิงห์ และหางอย่างหงส์ จึงกลายเป็นมกร (สัตว์ประสม) ที่เรารู้จักทุกวันนี้ วิวัฒนาการนี้ใช้เวลาหลายร้อยปี และเราไม่ทราบว่าเริ่มต้นเมื่อไร, แต่มกรเพิ่งกลายเป็นสัตว์ประสมที่เรารู้จักราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 สมัยคุปตะตอนปลาย

“ปลามีงวงช้าง” ที่ปรากฏตามขอบสระแก้วน่าจะสะท้อนศิลปะอมราวดีรุ่นแรกครั้งพุทธศตวรรษที่ 7-10

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :

ไมเคิล ไรท. (2551). ฝรั่งหายคลั่ง (หรือยัง)”. กรุงเทพฯ : มติชน.


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2560