ทำไมเวลาจีบคนอื่นต้องเรียกว่า “ขายขนมจีบ”

ฉาก เกี้ยวพาราสี ใน จิตรกรรมฝาผนัง ภายใน อุโบสถ วัดวัง พัทลุง พระร่วงเป็นชายชู้ ขายขนมจีบ
ฉากเกี้ยวพาราสีในจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดวัง จังหวัดพัทลุง เขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4

“ขายขนมจีบ” ถ้าฟังกันทั่ว ๆ ไป ก็คือการทำมาค้าของกินเล่นชนิดหนึ่งที่รสชาติอร่อย กินเยอะหน่อยก็อิ่มท้อง อย่าง ขนมจีบ แต่วลีนี้มีความหมายแฝงคือ เมื่อเวลาเราไปจีบใคร ก็สามารถใช้ได้ว่า “ไปขาย ‘ขนมจีบ’ เขามาเหรอ” เป็นต้น

วลีนี้มีที่มาจากอะไร?

ฉากเกี้ยวพาราสีในจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดวัง จังหวัดพัทลุง เขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4
ภาพประกอบเนื้อหา – ฉากเกี้ยวพาราสีในจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดวัง จังหวัดพัทลุง เขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4

เรื่องนี้ ส. พลายน้อย ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2553 กล่าวไว้ใน “กระยานิยาย เรื่องน่ารู้สารพัดรสจากรอบๆ สำรับ” ว่า…

“เมื่อ 50 ปีก่อน ผมไม่รู้จักว่ารูปร่างขนมจีบเป็นอย่างไร ไม่เคยเห็น ไม่เคยกิน แต่เวลาผมพูดคุยกับนักเรียนหญิง พวกเพื่อน ๆ มักจะค่อนขอดว่า ‘นี่นายไปจีบแม่สรวงสุดามาหรือ’ ก็นึกสงสัยมาช้านานว่า ทำไมจึงเรียกการพูดคุยกับหญิง (ซึ่งมักถูกหาว่าเกี้ยว) ว่าเป็นการ ‘จีบ’

ต่อมาภายหลังพูดกันเต็มปากเต็มคำทีเดียวว่าเป็นการขาย ‘ขนมจีบ’ สองคำนี้ไม่เห็นจะเหมือนกัน ‘จีบ’ คำแรกเข้าใจว่าจะจับเอากิริยาที่ผู้พูดทำจีบปากพูดเพื่อให้ดูน่ารักน่าเอ็นดูมาเปรียบเทียบ

แต่ ‘ขายขนมจีบ’ เป็นเพียงเอาชื่อมาใช้เพื่อให้ใกล้คำว่า ‘จีบ’ คำแรกเท่านั้นเอง

ขนมจีบ (ภาพจาก : เส้นทางเศรษฐี)

เป็นอันตอบคำถามที่หลายคนสงสัยได้เลยทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง : 

ส. พลายน้อย. กระยานิยาย เรื่องน่ารู้สารพัดรสจากรอบๆ สำรับ. กรุงเทพฯ: มติชน, 2548.


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 6 มีนาคม 2568