ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
เมื่อพูดถึง “ตรุษไทย” หลายคนน่าจะทราบดีว่าเป็นเทศกาลแห่งการสิ้นปี แล้วทีนี้ “ตรุษไทย” ต่างจาก “สงกรานต์” อย่างไร ในเมื่อคนไทยก็บอกว่าเป็นวันปีใหม่ไทยหรือสิ้นสุดปีเก่า?
เรื่องนี้ขออธิบายสั้น ๆ กระชับให้เข้าใจง่ายว่า คำว่า ตรุษ อย่างที่ปรากฏข้อมูลใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อธิบายว่าคำนี้มีที่มาจากภาษาสันสฤต แปลว่า แตก ขาด หรือทำให้ขาด และมีการนิยามความหมายว่าเป็นเทศกาลเนื่องในการสิ้นปี ซึ่งกำหนดตามจันทรคติ ตรงกับวันแรก 15 ค่ำ เดือน 4
ดังนั้น ตรุษไทยใน พ.ศ. 2567 จึงตรงกับวันที่ 8 เมษายน (นับตามจันทรคติ) และเทศกาลสิ้นปีนี้คนไทยมักจะมีประเพณีทำบุญตักบาตรข้าวเหนียวแดงกัน
ส่วนเทศกาลสงกรานต์อย่างที่รู้กัน เป็นการนับตามสุริยคติ โดยพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ว่า “เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกำหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน วันที่ ๑๓ คือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ คือวันเนา และวันที่ ๑๕ คือวันเถลิงศก.”
ประเพณีที่นิยมทำในวันสงกรานต์ก็จะเป็นการตักบาตร สรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทราย รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ทำบุญให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงการสาดน้ำสร้างความรื่นเริงในเทศกาล
นี่คือความแตกต่างของวัน “ตรุษไทย” และ “สงกรานต์”
ใครอยากรู้เรื่องราวสนุก ๆ เกี่ยวกับวันสงกรานต์แบบเต็มอิ่ม จุใจ มากกว่านี้ ติดตามต่อได้ที่ SILPA PODCAST “มหาสงกรานต์ ย่านอุษาคเนย์” ผ่าน YouTube : Silpawattanatham – ศิลปวัฒนธรรม (คลิกที่นี่)
- “วันสงกรานต์” ปีใหม่ไทย แต่ไม่ใช่วันเปลี่ยน “นักษัตร” ในระบบปฏิทินไทย!?
- สงกรานต์ไทย-โจลชนำทเม็ยเขมร เหมือน-ต่าง กันอย่างไร?
- “ปากปี๋” วันเริ่มต้นปีใหม่ (ที่แท้จริง?) ของภาคเหนือ คนล้านนาทำอะไร ไหว้อะไร?
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 8 เมษายน 2567