ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
“ปากปี๋” วันเริ่มต้นปีใหม่ “ที่แท้จริง” ของ ภาคเหนือ? วันนี้สำคัญอย่างไร คนล้านนาทำอะไร ไหว้อะไรกัน?
“ศิลปวัฒนธรรม” ร่วมกับ สมฤทธิ์ ลือชัย ผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมล้านนาและอุษาคเนย์ พาไป “ม่วนจอย” กับสงกรานต์ถิ่นล้านนาและเพื่อนบ้าน ณ นครหลวงพระบาง ใน สปป. ลาว
อาจารย์สมฤทธิ์ เล่าว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ภาคเหนือ ยังมีอีกวันหนึ่ง คือวันที่ 16 เมษายนของทุกปี เรียกว่า “วันปากปี” ภาษาเหนือออกเสียงว่า “ปากปี๋” หมายความว่าสังขาร (สังขานต์) ล่องไปแล้ว เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างปีเก่า-ปีใหม่ ถือเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทางล้านนา เพราะเกี่ยวข้องกับผีบรรพบุรุษ ผีบรรพชน
“ภาษากลางเรียกวันเนาใช่ไหม ภาษาเหนือเรียก ‘วันเน่า’ คือช่วงรอยต่อ แล้วก็ วันพญาวัน คือเริ่มต้นปีใหม่ ปีใหม่จะเริ่มจริงจังคือวันที่ 16 ‘ปากปี’ แปลว่าเริ่มต้นของปี วันนี้จะเป็นเรื่องของผี หลังจากทำบุญเป็นพุทธแล้วใช่ไหมครับ ทำบุญกับมนุษย์แล้ว วันที่ 16 วันปากปี๋ เราจะไปทำบุญกันที่หอเจ้าที่ของหมู่บ้าน ที่เรียกว่า ‘เสื้อบ้าน’ หรือบางทีเรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า ‘ใจ๋บ้าน’ หรือใจบ้าน
ภาษากลางจะเรียก ‘เสื้อบ้าน’ คือผีที่คุ้มครองชุมชน ก็ไปทำบุญที่นั่นกัน ประเพณีของล้านนาไม่ใช่เฉพาะพุทธอย่างเดียว มีผีเข้ามาด้วย คือไม่ทิ้งอันเก่า ไม่ลืมอันใหม่ ผสมกันเข้าไป นี่คืองานปีใหม่ของล้านนา”
ติดตามเรื่องราวแบบเต็ม ๆ ได้ใน SILPA PODCAST “มหาสงกรานต์ ย่านอุษาคเนย์” EP.3 “สงกรานต์ล้านนา” สุขีปี๋ใหม่เมือง โดย สมฤทธิ์ ลือชัย ที่ YouTube : Silpawattanatham
อ่านเพิ่มเติม :
- สงกรานต์ เป็นวัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์
- ปฏิทินถิ่นอุษาคเนย์ ไม่ได้มีแค่ปี พ.ศ. กับปี ค.ศ.
- สืบราก “สงกรานต์” ถึงถิ่นอินเดียใต้ ทำไม “ปีใหม่ไทย” ต้องเป็นเดือนเมษายน?
- สงกรานต์ 3 วัน 13-15 เม.ย. เริ่มมีเมื่อใด ปีใหม่ไทยในอดีตเปลี่ยนไปมา ชาวบ้านตามตรวจดูวันเอง
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 29 มีนาคม 2567