ไขที่มา ทำไมเรียกพระมหากษัตริย์ว่า “ขุนหลวง”?

สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ขุนหลวง ท้ายสระ พระเจ้าท้ายสระ ละครพรหมลิขิต
สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ในละครพรหมลิขิต (ภาพจาก Facebook: Ch3Thailand)

เคยสงสัยหรือไม่ ทำไมถึงเรียกพระมหากษัตริย์ว่า “ขุนหลวง” ?

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายคำว่า ขุน ไว้ 3 อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือ ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, บรรดาศักดิ์ข้าราชการรองจากหลวงลงมา เช่น ขุนวิจิตรมาตรา ต่อมาคือ ใช้เรียกหมากรุกตัวสำคัญที่สุด สุดท้ายคือ ใหญ่ เช่น ขุนเขา

ส่วนคำว่า ขุนหลวง พจนานุกรมฉบับเดียวกันให้ความหมายไว้ว่า คำเรียกพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ขุนหลวงพะงั่ว ขุนหลวงหาวัด ขุนหลวงตาก ภายหลังใช้เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางด้วย เช่น ขุนหลวงพระไกรศรี

เหตุที่เรียกพระมหากษัตริย์ว่าขุนหลวงนั้น รศ. ดร. ศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ให้คำอธิบายกับ “ศิลปวัฒนธรรม” ว่า ขุน เดิมหมายถึง​กษัตริย์ ขุนหลวง หมายถึงขุนที่เป็นใหญ่เหนือขุนอื่นๆ

“ขุนหลวง” จึงหมายถึงพระมหากษัตริย์ หรือกษัตริย์ที่เป็นใหญ่เหนือกษัตริย์สามนตราชอื่นๆ นั่นเอง 

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่ 


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 4 ธันวาคม 2566