ส่อง “ปลา” ที่ชาวอยุธยากินเป็นอาหารหลัก เป็นปลาประเภทไหน จับกันที่ใด?

ภาพถ่าย คน สุโขทัย จับ ปลา ในช่วง ฤดูปลาขึ้น วิถีชีวิตคนสุโขทัย
ภาพถ่ายเก่าบรรยากาศการจับปลาใน “ฤดูปลาขึ้น” ที่สุโขทัย

“ปลา” ถือเป็นแหล่งโปรตีนและวัตถุดิบสำคัญของชาว “อยุธยา” เนื่องจากในอดีตมีความเชื่อว่า การกินเนื้อสัตว์ใหญ่หรือสัตว์สี่ขาเป็นเรื่องผิดบาป และขัดกับความเชื่อทางศาสนา จึงทำให้มนุษย์อยุธยาเลือกสรรกินปลาเป็นหลัก 

ว่าแต่พวกเขากินปลาชนิดใด แล้วแหล่งดักจับสัตว์น้ำเหล่านี้อยู่ที่ไหนกัน?

แผนที่สยาม ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1764 (Author: Bellin, Jacques Nicolas, 1703-1772)

เรื่องราวที่หลายคนน่าจะไม่เคยรู้นี้ ปรากฏอยู่ในหนังสือ “มนุษย์อยุธยา ประวัติศาสตร์สังคม จากข้าวปลา หยูกยา ตำรา SEX” (สำนักพิมพ์มติชน) โดย กำพล จำปาพันธ์ กล่าวไว้ว่า…

ส่วนปลานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นปลาน้ำจืดที่จับหาได้เป็นอันมากตามแม่น้ำลำคลอง โดยเฉพาะในช่วงเวลาฤดูน้ำหลาก ผู้คนในเขตที่ราบภาคกลางซึ่งมีวิถีชีวิตแบบริมฝั่งแม่น้ำ มักจะปลูกบ้านเรือนโดยยกพื้นสูงเหนือพื้นดินและมีเรือติดไว้ที่ใต้ถุนหรือไม่ก็ผูกไว้กับเสาเรือน ลักษณะอาคารบ้านเรือนเช่นนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการใช้ชีวิตในช่วงฤดูน้ำหลาก 

ฉะนั้นแม่น้ำลำคลองที่ไหลผ่านเปรียบเหมือนเส้นโลหิตของกรุงศรีอยุธยามีชื่อเรียกต่างๆ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำลพบุรี, แม่น้ำป่าสัก, แม่น้ำน้อย, หนองโสนหรือบึงพระราม, คลองสระบัว, คลองสวนพู, คลองมหาพราหมณ์, คลองคูจาม (ปท่าคูจาม), คลองมหาภาค, คลองขุนละคอนไชย, คลองมหาไชย, คลองนายก่าย, คลองประตูจีนหรือคลองประตูข้าวเปลือก, คลองท่อหรือคลองฉะไกรใหญ่, คลองฉะไกรน้อย, คลองประตูเทษหมี, คลองแกบ, คลองฝาง”

บ้านเรือนแพริมแม่น้ำเจ้าพระยา

จากข้อมูลดังกล่าวคงตอบข้อสงสัยที่ค้างคาใจใครหลายคนเกี่ยวกับ “ปลา” และแหล่งจับสัตว์น้ำในสมัยอยุธยาอยู่ไม่น้อย

นอกจากนี้ ด้วยภูมิศาสตร์ที่เต็มไปด้วยแม่น้ำลำคลองไหลผ่าน จึงทำให้ชาวอยุธยาสามารถจับปลาไว้บริโภคได้จำนวนมาก โดยใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง แถมไม่ได้มีเพียงแค่ปลา ทว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยบรรดาสัตว์น้ำมากมาย เช่น กุ้ง, หอยนางรม, เต่า รวมไปถึง ปลาไหล

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2566