ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
8 กันยายน 2482 รัฐบาลออกประกาศให้คนเคารพธงชาติ
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉะบับที่ 4 เรื่องการเคารพ ธงชาติ, เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี ลงวันที่ 8 กันยายน 2482 มีเนื้อหาใจความว่า (หัวข้อประกาศและเนื้อหาในประกาศสะกดตามต้นฉบับ)
“ด้วยรัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า ธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นสิ่งสำคัญประจำชาติพึงได้รับการเชิดชูเคารพของชาวไทยทั้งมวล จึ่งประกาศเป็นรัฐนิยมไว้ดั่งต่อไปนี้
๑. เมื่อได้เห็นการชักธงชาติขึ้นรือลงจากเสาประจำสถานที่ราชการตามเวลาปกติ หรือได้ยินเสียงแตรเดี่ยวหรือนกหวีดเป่าคำนับหรือให้อาณัติสัญญาณการชักธงชาติขึ้นหรือลง ให้แสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีนิยม
๒. เมื่อได้เห็นธงไชยเฉลิมพล ธงเรือรบ ธงประจำกองยุวชนทหาร หรือธงประจำกองลูกเสือ ซึ่งทางการเชิญผ่านมาหรืออยู่กับที่ประจำแถวทหาร หรือหน่วยยุวชน หรือลูกเสือ ให้แสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบ หรือตามประเพณีนิยม
๓. เมื่อได้ยินเพลงชาติ ซึ่งทางราชการบรรเลงในราชการก็ดี ซึ่งบุคคลบรรเลงในงานพิธีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ให้ผู้ที่ร่วมงานหรือที่อยู่ในวงงานนั้นแสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีนิยม
๔. เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งทางราชการบรรเลงในราชการก็ดี ซึ่งบุคคลบรรเลงในโรงมหรสพหรือในงานสโมสรใด ๆ ก็ดี ให้ผู้ที่ร่วมงาน หรือที่อยู่ในวงงาน หรือในโรงมหรสพนั้นแสดงความเคารพ โดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีนิยม
๓. เมื่อได้เห็นผู้ใดไม่แสดงความเคารพดั่งกล่าวในข้อ ๑–๒–๓ และ ๔ นั้น พึงช่วยกันตักเตือนชี้แจงให้เห็นความสำคัญแห่งการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี.
ประกาศมา ณ วันที่ ๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๒
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี”
อ่านเพิ่มเติม :
- ที่มา “ธงชาติไตรรงค์” ไอเดียใครออกแบบ ทำไมเลือกใช้สีแดง-น้ำเงิน-ขาว
- รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศให้ “ธงไตรรงค์” เป็น “ธงชาติไทย” เมื่อ 28 กันยายน 2460
- 14 กันยายน 2485 : ยืนตรงเคารพธงชาติไทยเป็นครั้งแรก
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 8 กันยายน 2560