นายพลญี่ปุ่นอ้าง เชลยแถบเมืองกาญจน์ตายเยอะเพราะ “อหิวาต์” ใช่ว่าญี่ปุ่นไร้มนุษยธรรม

สะพานข้ามแม่น้ำแคว บ้านท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เชลยเมืองกาญจ์ ตาย ที่นี่ เพราะ อหิวาต์ จากคำกล่าวอ้าง นายพล แห่ง ญี่ปุ่น
สะพานข้ามแม่น้ำแคว ฉากสำคัญในภาพยนตร์เรื่อง “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” (The Bridge on the River Kwai) สร้างข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ที่บ้านท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

นายพลนากามูระ ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย อ้าง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เชลยศึกเมืองกาญจนบุรีตายเยอะเพราะ “อหิวาต์” หาใช่เพราะ “ญี่ปุ่น” ไร้มนุษยธรรม

…ก่อนหน้านั้นเมื่อข้าพเจ้าได้ฟังข่าวว่ามี ‘อหิวาต์’ ระบาดที่บ้านนิเถ ข้าพเจ้าก็ได้ไปพบกับนายกฯ พิบูลสงครามที่ทำเนียบสามัคคีชัย มีเสนาธิการยามาดะติดตามไปด้วย

นายพลนากามูระ เข้าพบจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบสามัคคีชัยเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2486

เมื่อข้าพเจ้าได้รายงานข้อเท็จจริงที่น่าเศร้าใจนั้นแล้ว นายกฯ พิบูลสงครามได้แสดงอาการตกใจ บอกว่าเขาจะให้ความร่วมมือทุกอย่าง ขอให้พยายามอย่างดีที่สุด และทางฝ่ายไทยได้ประกาศเขตโรคระบาดตั้งแต่กาญจนบุรีไปทางทิศตะวันตก และตั้งด่านตรวจโรคในเขตจังหวัดกาญจนบุรีขึ้นด้วย ทำการตรวจตราอย่างเคร่งครัด และได้ออกคำสั่งให้ฉีดยาป้องกันแก่ประชาชน

ข้าพเจ้าได้ไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจที่โรงพยาบาลชั่วคราวของผู้ป่วย อหิวาต์ เชลยศึกในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นเดือนที่มีผู้ป่วยสูงสุด แต่ก็ได้เสียใจว่ามีคนตายถึงห้าพันกว่าคน และเกือบทั้งหมดนั้นเป็นเชลยศึกและกรรมกรมลายู

สิ่งที่กล่าวมานี้กลับกลายมาเป็นหัวข้อในการโฆษณาของฝ่ายตรงข้ามว่า ‘ญี่ปุ่น’ ไร้มนุษยธรรม

ผลที่สุดหลังสงครามยุติแล้ว มีนายทหารญี่ปุ่นถูกจับกุมในฐานะอาชญากรสงครามและถูกประหารชีวิตไปเป็นจำนวนมาก เรื่องนี้น่าเสียใจอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าขอแสดงความระลึกถึงต่อผู้เสียชีวิตทั้งหมดในโอกาสนี้ด้วย…

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


หมายเหตุ : คัดตอนหนึ่งจากบทความ “แฉ-ทางรถไฟสายมรณะ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ความทรงจำของนายพลนากามูระ ‘ผู้บัญชาการชาวพุทธ’ สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา” แปลโดย เออิจิ มูราชิม่า, นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เผยแพร่ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2546


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 29 กรกฎาคม 2560