ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
ในพระนิพนธ์เรื่อง อภินิหารการประจักษ์ ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเขียนเรื่อง “เหตุการณ์อัศจรรย์” ต่างๆ เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เสด็จสวรรคต ขอคัดข้อความมาบางส่วนดังนี้ (ตัวอักษรคัดตามต้นฉบับเดิม)
“…ทุ่มเศษวันนั้น ท้องฟ้าเปนควัน หมอกกลุ้มโตใหญ่ ใช่น่าน้ำค้าง หมอกลงเหลือใจ บูราณว่าไว้ ทุมเกตุเกิดมี แลดูท้องฟ้า เตี้ยต่ำเต็มที ดวงพระจันทร์นี้ แดงคล้ำหมองไป ครั้นถึงเวลา พระสงฆ์ปวารณา เสด็จสวรรคาไลย สมกับเหตุเดิม ที่ได้ตรัสไว้ วันเพ็ญนี้ไซ้ ก็เหมือนวันเดิม เปนอัศจรรย์ใหญ่ ควรทำในใจ ไว้เชิดชูเฉลิม พระเกียรติต่อไป มาเปนขึ้นได้ เหมือนพระวาจาเดิม ถูกกาลเวลา ไม่ต้องเพิ่มเติม ควรสรรเสริญเสริม เกียรติคุณความดี ค้ำหนึ่งข้างเช้า ภูมเทพยเจ้า ที่ปถมเจดีย์ เข้าสิงหญิงมอญ มาแสดงด้วยดี พระสุธรรมไมตรี ถามว่าอย่างไร ว่าเราจะมา บอกให้รู้ไว้ ตัวเรานี้ไซ้ อยู่มาช้านาน ที่พระปรางเจดีย์ เปนที่นมัสการ วิตกรำคาญ ถึงพระราชา เราเข้าไปเยี่ยม พอถึงเวลา ฝูงเทพคณา ลงมารับไป เวลายามเศษ แห่ห้อมล้อมไสว สมเด็จจอมไทย ขึ้นทรงวอทอง วอเงินอีกอัน มารับท่านนั้น ด้วยบูลย์ แล้วพาลอยไป ยิ่งแลยิ่งไกล ลิบลิบลับสูญ เรากลับออกมา บอกให้รู้มูล เหตุท่านสมบูรณ์ สุคติทางไป เหตุนี้อัศจรรย์ สำคัญโตใหญ่ เพราะข่าวนำไป ถึงในสิบโมง เร็วเกินคนนัก เห็นจักไม่โกง เวลาทุ่มโมง ก็ถูกต้องกัน เสียดายท่านรีบ เสด็จเร็วไปสวรรค์ พระคุณมหันต์ แก่หมู่ราษฎร ให้สัตว์เย็นสว่าง ทั่วทุกนคร เปรียบเหมือนจันทร ท่านมีพระคุณ แก่สัตว์มากใหญ่ ไม่เลือกว่าใคร ถ้วนทั่วทุกคน พระชนม์ท่านนั้น สองหมื่นสามพัน สองร้อยเศษพัน ขึ้นไปห้าสิบเก้า ถูกคราวสูรย์คน เกิดไข้เผาลน เสด็จสวรรคาลัย รัชกาลของท่าน นับได้หกพัน สามร้อยเปนไป กับเศษห้าสิบ ครบถ้วนลงใน วันปวารณาใหญ่ เดือนสิบวันเพ็ญ ในศักราช 1230 ปีมโรงสัมฤทธิศก…”
นี่คือ “เหตุการณ์อัศจรรย์” เมื่อ “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เสด็จสวรรคต
อ่านเพิ่มเติม :
- “ทูตอเมริกัน” สมัย ร.4 เผย เจรจากับ “สยาม” ควรพาเรือปืนมาด้วยจะได้ไม่เสียเวลา
- ร.4 ทรงตำหนิภาพสตรีในวัดทองนพคุณ อุจาด “นั่งปัสสาวะ-ผ้าข้างหน้าแหวกถึงอุทรประเทศ”
- พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ พระราชธิดาในร.4 ที่ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ เหตุทําผิดมหันตโทษ
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ.2561