ไขปริศนา พระเจ้าตาก “บ้า” จริงหรือ!?

อนุสาวรีย์ พระเจ้าตาก
พระเจ้าตากสินมหาราช

คำกล่าวที่ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระสติฟั่นเฟือน “วิปลาส” หรือเป็น “บ้า” ถือเป็นข้อกล่าวหาที่ “พระเจ้าตาก” สมควรได้รับจริงหรือ? หลักฐานที่ยืนยันเรื่องนี้มีมาก-น้อย หรือน่าเชื่อถือแค่ไหน?

“ศิลปวัฒนธรรม” ร่วมกับ “สมฤทธิ์ ลือชัย” ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมภูมิภาคอุษาคเนย์ ชวนตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์กับทุกประเด็นที่ผู้สนใจประวัติศาสตร์ตั้งข้อสงสัย  โดยเลือกหนึ่งประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่โด่งดัง ถูกพูดถึงมากที่สุดอย่าง “พระเจ้าตาก บ้า’ จริงหรือ?” มาไขปริศนา หาข้อพิสูจน์ และถ่ายทอดอย่างน่าสนใจ ย่อยง่าย

อาจารย์สมฤทธิ์ ลือชัย กล่าวว่าประวัติศาสตร์ไทยมีกษัตริย์ 2 พระองค์ ที่มีคนกล่าวถึงมากที่สุด องค์แรกคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช องค์ที่ 2 คือ พระเจ้าตากสินมหาราช ในขณะที่สมเด็จพระนเรศวรเน้นเรื่องยอพระเกียรติ ชื่นชมยินดี มีอนุสรณ์ การรับรู้เกี่ยวกับ พระเจ้าตากสิน จากเอกสารโบราณตลอด 15 ปีที่ทรงครองราชย์ กลับเป็น 15 ปีที่ถูกนำมาถกเถียงกันมากที่สุด

“เอกสารหลักของทางราชการก็มักจะลงความเห็นว่ามีพระสติฟั่นเฟือน วิปลาส… หรือบางคนจะใช้คำว่าบ้าไปเลย ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เลยค้นคว้าศึกษาดู ว่าพระเจ้าตากนั้นบ้าจริงหรือเปล่า”

อาจารย์สมฤทธิ์ อธิบายว่า เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าตากไม่สามารถสอบถามจากผู้คน หรือพยานบุคคลได้ หลักฐานสำคัญคือเอกสาร เอกสารที่จะเล่าถึงเรื่องราวของพระเจ้าตากมีทั้งเอกสารร่วมสมัย เอกสารที่เขียนภายหลัง หรือแม้แต่เอกสารของชาวต่างประเทศ

เอกสารหนึ่งที่คนมักกล่าวและถูกอ้างอิงถึงมากที่สุด คือหนังสือความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี เจ้าครอกวัดโพธิ์ พระขนิษฐารัชกาลที่ 1 ผู้อยู่ร่วมสมัยกับพระเจ้าตาก เขียนเล่าตั้งแต่ก่อนสมัยพระเจ้าตากถึงหลังสมัยของพระองค์ โดยบรรยายฉากสุดท้ายของพระเจ้าตากไว้ว่า “เมื่อต้นแผ่นดินเย็นด้วยพระบารมี ชุ่มพื้นชื่นผลจนมีแก่น ปลายแผ่นดินแสนร้อมรุมสุมรากโคน โค่นล้มโถมแผ่นดินด้วยสิ้นพระบารมีแต่เพียงนั้น”“ดูพระจริตฟั่นเฟือนเฝ้าแต่ฆ่าญวน…”

แต่คำว่า “พระสติฟั่นเฟือน” สามารถตีความไปถึงระดับที่เรียกว่า “บ้า” หรือควบคุมตัวเองไม่ได้อย่างที่เราเข้าใจหรือไม่?

เพราะหากมิได้หมายความเช่นนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในฐานะวีรกษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้ชาติบ้านเมือง ย่อมเป็นบุคคลที่คู่ควรอย่างยิ่งแก่การ “เป็นอิสระ” จากข้อครหาดังกล่าว…

ติดตามได้ใน PODCAST นี้ :

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 1 สิงหาคม 2566