หรือแท้จริงแล้ว “ทวารวดี” และ “ลังกาสุกะ” เป็นเครือญาติกัน?!

เหรียญ ทวารวดี
เหรียญทวารวดีรูปแม่โคลูกโค และอักษรปัลลวะ อ่านได้ว่า “ศฺรี ทฺวารวตีศฺวรปุณฺย” พุทธศตวรรษที่ 12 พบเมื่อปี พ.ศ. 2486 บริเวณใต้ฐานเจดีย์เก่าบริเวณใกล้ห้วยจระเข้ ตำบลเนินหิน ในเขตวัดพระประโทนเจดีย์ จังหวัดนครปฐม (ภาพจาก ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/691)

ทวารวดี – ลังกาสุกะ อาณาจักรโบราณเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอย่างไม่น่าเชื่อ! เผยข้อมูลใหม่ จากหลักฐานเหรียญทองคำโบราณ “ศฺรีลงฺกาโศเกศฺวรปุณฺย” ติดตามชมได้ใน SILPA PODCAST!

เมื่อพูดถึง “ทวารวดี” หลายคนคงจะคุ้นชินภาพจำว่าเป็นอาณาจักรโบราณที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำในภาคกลางของไทยในปัจจุบัน และเชื่อกันว่าเป็นอาณาจักรของกลุ่มมอญ-เขมร เพราะพบจารึกภาษาสันสกฤตในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก

ขณะเดียวกัน “ลังกาสุกะ” ก็เป็นอาณาจักรที่นักประวัติศาสตร์คาดว่าอยู่บริเวณเมืองโบราณยะรัง จังหวัดปัตตานี

2 อาณาจักรนี้ถ้ามองในแง่ของภูมิศาสตร์ค่อนข้างห่างไกลกันมาก คือ ทวารวดี อยู่ในบริเวณภาคกลาง และลังกาสุกะ อยู่ในบริเวณภาคใต้

แต่เมื่อนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้ค้นพบ “เหรียญทอง” วัตถุโบราณที่ปรากฏคำว่า ศฺรีลงฺกาโศเกศฺวรปุณฺย” เมื่อประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 และได้นำมาเทียบกับ “เหรียญเงิน” ของวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลาง ที่ระบุคำว่า ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺยะ ที่ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2486 ที่โบราณสถานเนินหิน จังหวัดนครปฐม 

จึงทำให้นักวิชาการเริ่มตั้งข้อสงสัยว่า โบราณวัตถุทั้งสองชิ้นมีความเหมือนกันตรงที่เอาชื่อเมืองขึ้นต้น บ่งบอกถึงที่มาของเหรียญอย่างชัดเจนว่ามาจากไหน แสดงให้เห็นถึงความร่วมกันของวัฒนธรรมแบบทวารวดี แม้จะต่างภูมิภาคกันก็ตาม

การพบเหรียญทองคำที่โบราณสถานเมืองยะรัง จึงต้องมาหาคำตอบกันต่อไปว่า ทวารวดีกับลังกาสุกะมีความเชื่อมโยงกันเป็นเครือญาติหรือกลุ่มคนเดียวกันหรือไม่ หรือแค่ลังกาสุกะอาจได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากทวารวดีเท่านั้น?

ติดตามรับฟังได้ใน SILPA PODCAST ตอน สัมพันธ์ “ทวารวดี-ลังกาสุกะ” ข้อมูลใหม่จากเหรียญทองคำที่เพิ่งค้นพบ!

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566