ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
วันที่ 21 เมษายน ของทุกปี ถือได้ว่าเป็นวันสถาปนากรุงเทพมหานคร เพื่อเฉลิมฉลองและระลึกถึงต้นกำเนิด รากเหง้าของเมืองหลวงแห่งนี้ กระทรวงวัฒนธรรม จึงจัดงาน “ใต้ร่มพระบารมี 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์”) เชิญชวนคนไทยเข้าร่วมงาน ตั้งแต่วันที่ 21-25 เมษายน พ.ศ. 2566 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และสถานที่สำคัญต่าง ๆ บริเวณพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์อีก 20 แห่ง
กิจกรรมภายในงานเต็มไปด้วยความน่าสนใจ ไม่ว่าจะไหว้พระ เที่ยววัด ชมวัง สัมผัสบรรยากาศพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน ชมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่า ทั้งหมดนี้รวบรวมไว้ในแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญ 21 แห่งที่กระทรวงวัฒนธรรมได้คัดสรรมาเป็นอย่างดี เพื่อให้ทุกคนอิ่มเอมใจและเก็บเกี่ยวความสุขจากงานฉลอง 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
ไหว้พระ รับพร เสริมศิริมงคล 11 วัด โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถใช้บริการรถสาธารณะ ขสมก. ได้ฟรี เพื่อเยี่ยมชมความงามของวัดต่าง ๆ ได้แก่
- วัดชนะสงคราม
2. วัดบวรนิเวศวิหาร
3. วัดเบญจบพิตรดุสิตวนาราม
4. วัดสระเกศ
5. วัดราชนัดดาราม
6. วัดสุทัศนเทพวราราม
7. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
8. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
9. วัดประยุรวงศาวาส
10. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
11. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ความสวยงามของวัดและประวัติที่มาคงทำให้ใครหลายคนอยากไปชื่นชมสักครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น วัดประยุรวงศาวาส ยังมีการสาธิตภูมิปัญญาด้านอาหาร จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ประกวดอาหาร ละครชาตรี และการแสดงศิลปวัฒนธรรม ส่วน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ก็จัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช และพิธีตักบาตรพระสงฆ์ 99 รูป อีกด้วย
เพลิดเพลินพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม โอกาสฉลองกรุงเช่นนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดเส้นทางแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมมากมายให้ได้เข้าชม พร้อมกับอำนวยความสะดวกเรื่องการเดินทางด้วยรถราง ซึ่งให้บริการแบบไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดเส้นทาง
1. พระบรมมหาราชวัง : ชมพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และฟังการเสวนาวิชาการ
2. มิวเซียมสยาม : ชมอาคารนิทรรศการถาวร “ถอดรหัสไทย” เรียนรู้ประวัติศาสตร์พื้นที่ ทัวร์ใต้ดินชม Site Museum พิพิธภัณฑ์ใต้ดิน (Bangkok Underground) ฟังเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “รามเกียรติ์รัตนโกสินทร์ : ศาสตร์และศิลป์แห่งราชธานี” “ภาพถ่ายเก่าในหัวเมือง” “บางพลัดลัดเลาะ” “มานุษยวิทยาเมือง (Urban anthropology)” ฟังการบรรยาย “คุณธรรม คุณทําได้” และร่วม Workshop : Application Moral Play / Moral Plus
3. ศาลหลักเมือง : จัดพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง
4. พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม : ชมนิทรรศการประวัติสถาปัตยกรรมศิลปะพาลลาเดียน ถ่ายภาพกับปืนใหญ่โบราณ
5. หอศิลป์ร่วมสมัยราชดําเนิน : ชมการสาธิตงานศิลปะร่วมสมัย การประกวดภาพถ่าย การแสดงร่วมสมัย นิทรรศการ “ชุมชนอาเซียนใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร” ร่วมกิจกรรมเยี่ยมยลวิถีชุมชนชาวญวน ย่านสามเสน และชุมชนมุสลิมมลายู ย่านบางลําพู และเลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย
6. พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ : ชมแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ฟังการเสวนาทางวิชาการด้านเหรียญและประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ ทํากิจกรรม Workshop ปั้นแปะกระแหนะดินไทย พิมพ์สีลายฉลุไทย
7. พิพิธภัณฑ์ตํารวจ วังปารุสกวัน : ชมตําหนักจิตรลดาและอาคารพิพิธภัณฑ์ตํารวจ ชมความสวยงาม ของตําหนักจิตรลดายามค่ําคืน การแสดงการปฏิบัติหน้าที่ของสุนัขตํารวจ
8. พิพิธบางลําพู : ชมนิทรรศการป้อมเขตขัณฑ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นิทรรศการกรมธนารักษ์ นิทรรศการบางลําพู นิทรรศการแรกมีสิ่งพิมพ์ในสยาม และห้องสมุดชุมชนบางลําพู ท่องเที่ยวชุมชน (ไกด์เด็กบางลําพู) ทํากิจกรรม Workshop งานประดิษฐ์ ชมการแสดงของเด็กและเยาวชน
9. สวนสันติชัยปราการ : ชมอุโมงค์ไฟเรืองแสง และนิทรรศการสวนแสงพระราชประวัติ ๑๐ รัชกาล การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงวงดุริยางค์เยาวชนไทย และหนังกลางแปลง (กิจกรรมนี้เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566)
10. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และโรงละครแห่งชาติ : ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน (Night Museum) ชมโบราณวัตถุชิ้นสําคัญของชาติมากมาย การสาธิตอาหารไทยโบราณ อาหารชาววัง การแสดงทางวัฒนธรรม การบรรเลงดนตรีไทย ดนตรีสากล และเลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (CPOT)
ชมความงดงามของวัด วัง และสถานที่ที่เชื่อมโยงกับความเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ได้ในงาน “ใต้ร่มพระบารมี 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม ได้ระหว่างวันที่ 21-25 เมษายน พ.ศ. 2566
สนใจกิจกรรมสามารถติดต่อเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนวัฒนธรรม 1765 และดูตารางเวลางานได้ที่
อ่านเพิ่มเติม :
- ผังเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ กับกำเนิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
- ถนนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ : ถนนเก้าสายสั้นๆ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน
- “สวนลุมพินี” สวนสาธารณะแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ กับที่มาของชื่อ “ลุมพินี”
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 19 เมษายน 2566