นโยบายสร้าง “รัฐเวชกรรม” ของคณะราษฎร สู่การกำเนิด “โรงพยาบาล” ทั่วประเทศ

สุขศาลา สถานีอนามัย รัฐเวชกรรม
“สุขศาลา” ตามตามตำบล และอำเภอต่าง ภายหลังเป็น “สถานีอนามัย” (ภาพจาก “ปกิณกคดี 100 ปี การสาธารณสุขไทย”, หอจดหมายเหตุสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข)

นโยบายสร้าง “รัฐเวชกรรม” ของคณะราษฎร สู่การกำเนิด “โรงพยาบาล” ทั่วประเทศ

ก่อนที่อิทธิพลของชาติตะวันตกจะเข้ามาสู่ระบบสาธารณสุขและการแพทย์ไทยนั้น ในอดีตจะเน้นการรักษาแบบพื้นบ้าน ที่มักใช้พืชผักสมุนไพรใกล้ตัวในท้องถิ่น ผนวกกับการรักษาโดยความเชื่อเหนือธรรมชาติผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ อาทิ การไปหาร่างทรงเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การไปทำบุญกับพระสงฆ์เพื่อให้หลุดพ้นจากเจ้ากรรมนายเวร เป็นต้น

พัฒนาการของระบบสาธารณสุขและการแพทย์ของไทยสมัยก่อนก็เริ่มพัฒนาเมื่อได้รับวิทยาการของจีนและอินเดีย โดยเฉพาะช่วงยุคอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนายรายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) ที่ได้รับความรู้แบบแผนแบบตะวันตกผ่านทางคณะมิชคณะมิชชันนารีที่มาเผยแพร่ศาสนา แต่การแพทย์ตะวันตกก็ยังไม่แพร่หลายไปยังหมู่ประชาชนธรรมดา ทั้งยังจำกัดอยู่ในราชสำนัก

การแพทย์ตะวันตกเริ่มมีความสำคัญชัดเจนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ต้องการยับยั้งโรคระบาดที่ชุกชุมใน พ.ศ. 2424 เห็นได้จากที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นชั่วคราวในชุมชน 48 ตำบลเพื่อรักษาโรคให้แก่ราษฎร แต่ต่อมาเมื่อโรคระบาดสิ้นสุดลงโรงพยาบาลเหล่านี้ก็ปิดตัวลงไปด้วย

การขยายตัวขององค์ความรู้ของแผนสมัยใหม่ (ตะวันตก) เริ่มเข้ามาแทนที่องค์ความรู้เดิมแบบแพทย์แผนไทย เห็นได้จากการกำเนิดโรงพยาบาลที่ใช้องค์ความรู้แบบตะวันตก อาทิ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา (รักษาผู้ป่วยทางจิต) เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นการเข้ามาขององค์ความรู้ของแพทย์ตะวันตกได้สถาปนาตัวในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย เพียงแต่ยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น

การสร้าง รัฐเวชกรรม พ.ศ. 2475

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ประชาธิปไตย โดยนโยบายของคณะราษฎรคือการทำให้ประเทศเข้าสู่สมัยใหม่และพัฒนาประเทศให้เจริญทัดเทียมกับนานานอารยประเทศ ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

หนึ่งในโยบายที่สำคัญของคณะราษฎร คือ การพัฒนาทางด้านสาธารณสุขที่ยังไม่เป็นสมัยใหม่และยังไม่กระจายตัวออกไปทั่วประเทศ เพราะฉะนั้น คณะราษฎรจึงมีความพยายามที่จะสร้างประเทศไทยให้เป็น “รัฐเวชกรรม” กล่าวคือเป็นการรักษาด้วยความรู้การแพทย์สมัยใหม่เพื่อที่จะให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ

นโยบายการสร้างรัฐเวชกรรม คือ จัดให้มีโรงพยาบาล สุขศาลา สถานีบำบัดโรค ทั่วประเทศ โดยรูปแบบการตั้งโรงพยาบาลในรัฐเวชกรรมมีอยู่ 3 ขนาด คือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ (200-400 เตียง) โรงพยาบาลขนาดกลาง (75-150 เตียง) และโรงพยาบาลขนาดเล็ก (25-50 เตียง) แผนของการบริหารงานของคณะราษฎรได้ก่อให้เกิดการขยายบริการสุขภาพของประชาชน โดยการวางโครงการสร้างโรงพยาบาลและสุขศาลา ในส่วนภูมิภาคครบทุกจังหวัด

การสร้างโรงพยาบาลในระยะแรกเน้นให้สร้างที่จังหวัดชายแดนก่อน ตามนโยบาย “อวดธง” ของรัฐบาล ที่ต้องการอวดเกียรติภูมิแก่ประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจังหวัดที่ติดกับประเทศอินโดจีนที่ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส คือโรงพยาลประจำจังหวัดอุบลราชธานี หนองคาย นครพนม และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

แนวนโยบายของคณะราษฎรทำให้ประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2485 มีโรงพยาบาลในต่างจังหวัด 22 แห่ง ในจำนวนนี้ยังเป็นโรงพยาบาลทั่วไป 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลโรคจิต 3 แห่ง โรงพยาบาลวัณโรค 1 แห่ง โรงพยาบาลโรคเรื้อน 4 แห่ง

เมื่อมีการตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้นใน พ.ศ. 2489 จึงมีนโยบายจะจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้นใหม่ให้มีทั่วถึงทุกจังหวัด และมีนโยบายการโอนโรงพยาบาลของเทศบาลให้มาอยู่ในการจัดการของรัฐบาล เพื่อให้มีประสิทธิภาพ อย่างเช่น โรงพยาบาลเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา โรงพยาบาลเทศบาลเมืองภูเก็ต โรงพยาบาลเทศบาลเมืองราชบุรี เป็นต้น

และต่อมาเมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม หนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรขึ้นมาเป็นผู้นำรัฐบาลได้มีการสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัด พร้อม ๆ กับการจัดสร้างสถานพยาบาลระดับอำเภอ โดยความช่วยเหลือทางงบประมาณจากยูซอม (USOM-United States Operation Mission) ในการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์

การมีอำนาจของคณะราษฎรตั้งแต่ พ.ศ. 2475-2500 ได้ทำให้มีโรงพยาบาลประจำจังหวัดครบทั้งประเทศ 72 แห่ง (เวลานั้นประเทศไทยมีเพียง 72 จังหวัด) และทำให้ความรู้แพทย์สมัยใหม่สถาปนาลงหลักปักฐานในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม :

เครือมติชน ผนึกกำลังพันธมิตรสุขภาพทั้งภาครัฐ-เอกชน จัดมหกรรมสุขภาพยิ่งใหญ่สุดในประเทศ Thailand Healthcare 2023 “เกษียณสโมสร”

พบกับงานแฟร์สุขภาพอันดับ 1 เปิดโลกความสุขของคนรักสุขภาพวัยก่อนเกษียณ วัยเกษียณ และครอบครัวผู้ดูแล หลังไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ พบบริการตรวจสุขภาพฟรี เวทีเสวนา เวิร์กชอปเพื่อคนรักสุขภาพ ชอปปิงสินค้าเพื่อสุขภาพ พร้อมแคมเปญสุดพิเศษ 15 ปี 5 โปรปัง

30 โรงพยาบาลชั้นนำ บริการ “ตรวจสุขภาพฟรี” 30 เวทีเสวนาที่ดีที่สุด โดยกูรูสุขภาพ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 8 เวิร์กชอป การเงิน สุขภาพ ดิจิทัล ฯลฯ 100 ร้านค้า กับสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพ

เสริมทัพแบบจัดเต็มด้วย การตรวจเฉพาะทาง ได้แก่ ตรวจรักษาฟัน จากคณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ตรวจการได้ยิน (นิทรรศการบ้านนก) โดย รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ตรวจสุขภาพตา โดยโรงพยาบาลบ้านแพ้ว

สำหรับผู้มาตรวจคัดกรองภายในงาน หากตรวจพบต้อกระจก ทางโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ผ่าตัดให้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย จํานวน 50 ดวงตา

ตรวจพิเศษ Health Trend 2023 ตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ด้วยการ x-ray และแปลผลด้วย นวัตกรรม AI รู้ผลภายใน 3 นาที

พิเศษ! เช็กสุขภาพการเงินกับธนาคารทิสโก้ และ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) ที่ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลัก จะมาให้ความรู้ด้านการวางแผนการเงินเพื่อการเกษียณ “พลิกโฉมวางแผนเกษียณสู่เมกะเทรนด์” บริการให้คําปรึกษา ตอบโจทย์ลูกค้าแบบองค์รวม และโปรโมชันพิเศษ

ร่วมงานฟรี! พบกัน 29 มิ.ย. – 2 ก.ค. นี้ เวลา 10.00 – 20.00 น. ที่สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้า MRT สถานีสามย่าน ทางออกที่ 2

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :

อภิชาต สถิตนิรามัย, อิสร์กุล อุณหเกตุ. (2564). ทุน วัง คลัง (ศักดิ) นา: สมรภูมิเศรษฐกิจการเมืองไทยกับประชาธิปไตยที่ไม่ลงหลักปักฐาน. กรุงเทพฯ : มติชน.

ทวีศักดิ์ เผือกสม. (2561). เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม : ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2 ). กรุงเทพฯ : ILLUMINATIONS.

ชาติชาย มุกสง. (2563). จากปีศาจสู่เชื้อโรค : ประวัติศาสตร์การแพทย์กับโรคระบาดในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : มติชน.

สุภาพร คชารัตน. (2560). จาก”สุขภาพ” สู่ “สุขภาวะ” : การปฏิรูประบบสุขภาพของวงการสาธารณสุขไทย. veridian e-journal silpakorn university


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 27 มิถุนายน 2565