ขรรค์ชัย-สุจิตต์ เยือน ‘เมืองศรีเทพ’ ถกปมศูนย์กลาง ‘ทวารวดี’ จริงหรือ?

สุจิตต์ วงษ์เทศ ใน รายการ ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว

19 กันยายน 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ให้การรับรอง “เมืองโบราณศรีเทพ” อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรมขอพาทุกท่านย้อนชม รายการ ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว “ทวารวดี เมืองศรีเทพ ลุ่มน้ำป่าสัก จ. เพชรบูรณ์” ออนแอร์เมื่อวันอังคารที่ 30 เมษายน 2562

[อ่านความแบบย่อๆ ก่อนชมรายการ ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว]

เขาคลังนอก เมืองโบราณศรีเทพ เมืองศรีเทพ
เขาคลังนอก เมืองโบราณศรีเทพ อุทยาทประวัติศาสตร์ศรีเทพ (ภาพจาก กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร)
ปรางค์ศรีเทพ เมืองศรีเทพ ศรีเทพ
ปรางค์ศรีเทพ เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จ พ.ศ. 2447 [จากหนังสือ ศรีเทพ กรมศิลปากรพิมพ์ พ.ศ. 2561 หน้า 8]

เมืองศรีเทพ ไม่ใช่ชื่อเดิม

เป็นชื่อเรียกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ราว 200 ปีมานี้ สมัยยังมีชีวิตเมื่อ 1,500 ปีมาแล้ว (พ.ศ. 1000) ชื่ออะไร? ไม่รู้ เพราะไม่เคยพบจารึกชื่อเมือง แต่มีนักวิชาการผู้ใหญ่ เสนอชื่อว่า “ศรีจนาศะ” ในจารึกหลักหนึ่ง แต่ยังไม่ยุติ

เขาถมอรัตน์

ชื่อศรีเทพ

“ศรีเทพ” เป็นชื่อเก่าสมัยต้นอยุธยา พบในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน มีตำแหน่ง “หมอศรีเทพ” กรมหมอช้าง [คู่กับ “หมอศรีทณ” (ศักดินา 200)]

นอกจากนั้นยังพบชื่อ “พันบุตรศรีเทพ” (สมัยพระไชยราชา กับแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์) เกี่ยวข้องกับกำลังคนบ้านมหาโลก ลุ่มน้ำป่าสัก เชื้อสายเจ้านายเมืองละโว้ (ลพบุรี) แต่เป็นคำเดียวกับชื่อเมืองศรีเทพหรือไม่? ยังไม่พบหลักฐานเชื่อมโยง

บรรพชนคนไทยหลายพันปีมาแล้ว

ก่อนเป็นเมืองศรีเทพ มีคนหลายเผ่าพันธุ์ตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนใหญ่ระดับเมือง เมื่อหลายพันปีมาแล้ว นับเป็นบรรพชนคนไทยทุกวันนี้

นับถือศาสนาผี หญิงเป็นใหญ่ในพิธีกรรม เชื่อเรื่องขวัญ ยกย่องภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทางตะวันตกแม่น้ำป่าสัก ปัจจุบันเรียก เขาถมอรัตน์

พบโครงกระดูกมนุษย์ และเครื่องมือเครื่องใช้ มีชุมชนบ้านเมืองเครือญาติเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนค้าขายรอบๆ อ่าวไทย, อ่าวเมาะตะมะ, อ่าวตังเกี๋ย

คนกับหมา เป็นศพฝังด้วยกัน

หมาที่ถูกทำให้ตายกลายเป็นผีขวัญหมานำทางผีขวัญคนชั้นนำ ไปสู่โลกหลังความตายของบรรพชน แล้วรวมพลังสิงสู่อยู่กับแถนฟ้าหรือผีฟ้า เพื่อปกป้องคุ้มครองฝูงคนที่ยังมีชีวิตในชุมชนต่อไป

จึงพบโครงกระดูกหมาในหลุมศพของคนชั้นนำ ทั้งที่เมืองศรีเทพและที่อื่นๆ ได้แก่ บ้านเชียง (อุดรธานี), บ้านโนนวัด (นครราชสีมา) เป็นต้น

นอกจากนั้นยังพบภาพเขียนรูปหมาบนเพิงผาและผนังถ้ำหลายแห่ง แต่ที่สำคัญมาก อยู่เขาจันทน์งาม อ. สีคิ้ว จ. นครราชสีมา

(ซ้าย) โครงกระดูกผู้หญิง (อายุ 35-45 ปี) ราวเรือน พ.ศ. 800 พบโครงกระดูกหมาฝังร่วมด้วย (ขวา) โครงกระดูกหมาที่พบร่วมกับโครงกระดูกผู้หญิง (ภาพและข้อมูลจาก สำนักอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ กรมศิลปากร)

ชมรายการ ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว “ทวารวดี เมืองศรีเทพ ลุ่มน้ำป่าสัก จ. เพชรบูรณ์”

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่ 


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 21 พฤษภาคม 2562