“ลูกทาส” ตั้งแต่เด็กจนแก่ ขายได้ราคาเท่าไหร่?

ทาส สยาม ราคาลูกทาส
ทาสชาวสยาม มีสภาพชีวิตแทบไม่ต่างจากไพร่สามัญในทัศนะของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕ จากหอสมุดดำรงราชานุภาพ)

เปิดราคาลูกทาส ตั้งแต่เด็กจนแก่ ขายได้เงินเท่าไหร่?

“ลูกทาส” คือลูกของทาสทั้ง 7 พวก ได้แก่ ทาสสินไถ่, ลูกทาสเกิดในเรือนเบี้ย, ทาสได้มาแต่บิดามารดา, ทาสท่านให้, ทาสอันได้ด้วยช่วยกังวลทุกข์ร้อน, ทาสได้เลี้ยงมาเมื่อกาลทุกภิกขภัย และทาสไปรบศึกได้มาเป็นเชลย ด้วยเกิดมาเป็นลูกของทาส จึงทำให้เป็น “ลูกทาส” ทันทีเมื่อลืมตาดูโลก ซึ่งจะต้องทำงานรับใช้เจ้าทาส มีค่าตัวเหมือนกับผู้ให้กำเนิด และหากไม่มีเงินไถ่ออกจากการเป็นทาสก็จะต้องเป็นลูกทาสตลอดชีวิต

ทาส ชาวสยาม
ทาสชาวสยาม มีสภาพชีวิตแทบไม่ต่างจากไพร่สามัญในทัศนะของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5 จากหอสมุดดำรงราชานุภาพ)

แต่ละช่วงวัยของ “ลูกทาส” จะมีค่าตัวที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเพศและอายุ ซึ่งทาสที่มีค่าตัวเยอะมักอยู่ในช่วง 16-40 ปี เนื่องจากสามารถทำงานให้เจ้าทาสได้มากที่สุด เรียงลำดับตามช่วงอายุ ดังนี้…

อายุ 1-3 เดือน ค่าตัวชาย 6 บาท หญิง 4 บาท

อายุ 10-11 เดือน ค่าตัวชาย 12 บาท หญิง 10 บาท

อายุ 16-20 ปี ค่าตัวชาย 48 บาท หญิง 40 บาท

อายุ 21-30 ปี ค่าตัวหญิงสูงสุดที่ 48 บาท

อายุ 26-40 ปี ค่าตัวชายสูงสุดที่ 56 บาท

ภาพวาดลายเส้นประกอบหนังสือของ Margaet Landon เรื่อง “Anna and the King of Siam” วาดโดย Margaret Ayer เป็นตอนที่ แหม่มแอนนา (แอนนา เลียวโนเวนส์) พบกับนางละออและลูก ซึ่งเป็นทาสที่แหม่มแอนนาเข้าช่วยเหลือให้เป็นไท (เป็นทาสในเรือนเบี้ยมิได้เป็นทาสที่ถูกพ่อแม่หรือผัวขายมา นำมาใช้เป็นภาพแทนลักษณะของทาสในอดีตเท่านั้น)

จนเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป ค่าตัวลูกทาสจะน้อยลง ดังนี้…

อายุ 61-65 ปี ค่าตัวชาย 24 บาท หญิง 16 บาท

อายุ 81-85 ค่าตัวชายอยู่ที่ 8 บาท หญิง 6 บาท

และ 91-100 ปี ค่าตัวชายอยู่ที่ 4 บาท และ หญิง 3 บาท

ทั้งหมดนี้คือราคาลูกทาสในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่มีให้เจ้าทาส ว่าพวกเขาสามารถทำงานให้ได้มากน้อยแค่ไหน

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง : 

http://library1.nida.ac.th/nida_jour0/NJv7n3_01.pdf


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2568