ผู้เขียน | สุทธาสินี จิตรกรรมไทย เจียจันทร์พงษ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
เราอาจคุ้นกับราชสกุลในพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์กันมาบ้าง (ดูราชสกุลในรัชกาลต่างๆ ได้ด้านล่างบทความ) ทว่าอาจยังไม่ค่อยทราบถึงราชสกุลที่สืบจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ “วังหน้า” ในรัชกาลต่างๆ นัก จึงขอเริ่มที่ “ราชสกุลวังหน้ารัชกาลที่ 1” กันก่อน
ราชสกุลวังหน้ารัชกาลที่ 1
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงเป็นพระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อรัชกาลที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงสถาปนาพระอนุชาธิราชขึ้นเป็น “วังหน้า” ซึ่งนัยหนึ่งคือว่าที่พระมหากษัตริย์องค์ต่อไป
ความที่ทรงเป็นนักรบผู้เก่งฉกาจ ทรงมีพระอุปนิสัยเด็ดขาด ไม่เกรงกลัวผู้ใด ผู้คนจึงเรียกขานพระองค์อีกพระนามว่า “วังหน้า พระยาเสือ”
วังหน้าในรัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งหมด 43 พระองค์
ในจำนวนนี้ประสูติในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 6 พระองค์ และประสูติในแผ่นดินรัชกาลที่ 1 อีก 37 พระองค์
ราชสกุลวังหน้ารัชกาลที่ 1 ซึ่งสืบจากพระราชโอรสในพระองค์ มีด้วยกัน 4 ราชสกุล ดังนี้
1. พระองค์เจ้าชายอสุนี ประสูติเมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2326 ทรงเป็นต้นราชสกุล “อสุนี”
2. พระองค์เจ้าชายสังกะทัต ประสูติเมื่อปีระกา พ.ศ. 2332 ทรงเป็นต้นราชสกุล “สังขทัต”
3. พระองค์เจ้าชายบัว ประสูติเมื่อปีชวด พ.ศ. 2335 ทรงเป็นต้นราชสกุล “ปัทมสิงห์”
4. พระองค์เจ้าชายเณร ประสูติเมื่อปีวอก พ.ศ. 2343 ทรงเป็นต้นราชสกุล “นีรสิงห์”
ราชสกุลวังหน้าในรัชกาลอื่นๆ มีราชสกุลใดบ้าง โอกาสหน้าจะขอมานำเสนอ
อ่านเพิ่มเติม :
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 ที่ทรงทำราชการบ้านเมืองมีกี่พระองค์ และทรงเป็นต้นราชสกุลใดบ้าง
- พระราชโอรสรัชกาลที่ 2 ที่ทรงช่วยการงานได้มีกี่พระองค์ ทรงเป็นต้นราชสกุลใดบ้าง
- ราชสกุลรัชกาลที่ 3 มีราชสกุลใดบ้าง?
- “16 มหาสาขา” จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ มีราชสกุลใดบ้าง พระองค์ใดเป็นต้นราชสกุล?
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเนย อิศรางกูร ณ อยุธยา ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๗. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2507.
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 3 ธันวาคม 2567