ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
“เด็กชาย-เด็กหญิง” เป็นคำนำหน้าชื่อที่เราคนไทยคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็ก เพราะเกิดมาก็ต้องใช้คำนี้ก่อนจะขึ้นไปเป็น นาย, นางสาว หรือนาง
คำนำหน้า “เด็กชาย-เด็กหญิง” นี้เริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อใด?
จากการหาข้อมูลไม่ค้นพบว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใดกันแน่ แต่ปรากฏหลักฐานสมัยรัชกาลที่ 6 ใน “พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456” กล่าวว่า…
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้เด็กที่เป็นบุตรสามัญชนคนทั่วไป ใช้คำว่า เด็กชายและเด็กหญิง โดยเด็กที่ว่านั้นเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีลงมา
ส่วนใครที่เป็นลูกข้าราชการสัญญาบัตร ผู้ชายให้ใช้คำนำนามว่า “นายน้อย” ส่วนผู้หญิงใช้ว่า “นางน้อย” (อาจเป็นที่มาของการใช้คำว่านายน้อยในปัจจุบันก็เป็นได้)
ด้านเด็กที่มีเชื้อสายราชตระกูลหรือมีพระราชกฤษฎีกากำหนดคำนำหน้าอย่างอื่นไว้อยู่แล้ว ก็ให้ใช้คำนำหน้านามตามชั้นบรรดาศักดิ์ ไม่เปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม การใช้นายน้อยหรือนางน้อย (ที่ปัจจุบันมักเอาไว้เรียกลูกชายของคนมีทรัพย์หรือตระกูล ส่วนนางน้อยแทบไม่ปรากฏการใช้แล้ว) ไว้ด้านหน้าชื่อก็หายไป หลงเหลือเพียงเด็กชายหรือเด็กหญิงสำหรับวางไว้หน้าชื่อจริงเท่านั้น
อ่านเพิ่มเติม :
- “กรมแพทยาหน้า-กรมแพทยาหลัง” 2 หน่วยงาน พิพากษาคดีไสยศาสตร์ อยุธยา-รัตนโกสินทร์
- เจ้านายสตรี 5 พระองค์ ที่ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ กระทำผิดกฎมณเฑียรบาล-เสื่อมเสียเกียรติยศ
- รู้จักพระอิสริยยศ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล “วังหน้า” ว่าที่กษัตริย์องค์ต่อไป
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระฯ, 2423-2468. พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456 และ, พระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. [ม.ป.ท.]:กรุงเทพการพิมพ์, 2515. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2567. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:138620.
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2567