ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
การส่ง “ส่วยและอากร” ของหัวเมืองต่าง ๆ เป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับ “กรุงศรีอยุธยา” โดยของที่ส่งมาจะถูกนำมาใช้ในราชการต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะส่งของมาไม่เหมือนกัน
ส่วยและอากรที่หัวเมืองต่าง ๆ ส่งมา
เมืองบางตะพาน – ทองคำ
เมืองกาญจนบุรี – ตะกั่ว (ดีบุก)
เมืองศรีสวัสดิ์ – ตะกั่ว (ดีบุก)
เมืองนคร – ตะกั่ว (ดีบุก)
บ้านกระจับ – ตะกั่วนม
ข้าช้าง – ข้อมูลระบุว่าตีความไม่ออก แต่ส่งส่วยและอากรให้อยุธยา
เขาสมุท – รังนก (เห็นจะไม่ใช่สมมุกด้วยไม่มีถ้ำ เกาะรังนกที่จริงอยู่ในเหล่าเกาะแขวงมณฑลชุมพร)
คลองสวีและบ้านวรา – พลอยต่าง ๆ
บ้านตะโกในเขตเมืองจันทบุรี – เพชรเถื่อน
ในเขตเมืองลพบุรี
บ้านปอหิต – ทองแดง
เขตกะมันไป, บ้านตองจัก – เหล็ก
เมืองนครนายก – จันทน์ชมด
เมืองนครคีรี – เนื้อไม้
เมืองหูหิตตอ, เมืองตุกกะลงภู, บ้านสารคาม, บ้านเกษตร, บ้านนางพุก ในเขตเมืองศรีสวัสดิ์, ละวะกะเหรี่ยง – กำยาน
เขากลองแขกมอ ในเขตกาญจนบุรี, บ้านมะแส เมืองระยอง, บ้านทับงา เขตเมืองราชบุรี, เมืองอิดพี เมืองแม่นัด, เมืองมินซิน, เมืองกะแต, เมืองบุริน, บ้านสำเภา และเมืองชลบุรี เมืองเหล่านี้จะส่งสิ่งของเข้าเมืองเยอะหน่อย ได้แก่ งาช้าง, ฝาง, กำมะถัน, ดินประสิว, ผ้าขาว, ผ้าแดง, เสื่อต่าง ๆ, ไม้แดง, ไม้ดำ
ด้านเมืองชุมพร เมืองตานี ก็ส่งเสื่อหวาย บ้านกำแพงเพชรและเมืองพิษณุโลก ส่ง ไม้และไม้ไผ่ ส่วน เมืองสุพรรณและนครไชยศรี ส่งถ่าน
นอกจากนี้ ยังมีส่วยบางอย่างที่สามารถส่งเป็นเงินแทนได้ ได้แก่ น้ำรัก, น้ำมันยาง, น้ำมันปลา, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย, น้ำตาล, ชัน, สีน้ำรักต่าง ๆ, ปลาน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยเรียกเก็บเงินแทน 1 ปี เป็นเงินคนละ 4 บาท
ขณะเดียวกัน งาช้าง, ฝาง, ตะกั่วนม, ไม้ดำ, ไม้แดง, ชัน, รัก, จันทน์, ชมด, ครั่ง เป็นของหลวงเท่านั้น ห้ามไม่ให้ใครส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ
ของทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละเมือง ที่หาได้ยากแล้วในปัจจุบัน…
อ่านเพิ่มเติม :
- ส่วย คำศัพท์ที่มีความหมายในแง่ลบบนสื่อ มาจากไหน?
- “9 ผลไม้” ที่ถูกเก็บภาษีในรัชกาลที่ 3 มีอะไรบ้าง?
- “ไม้สัก” มีค่าถึงขั้นเป็น “ส่วย” แทนทองคำ ทั้งยังเกี่ยวพันกับการตั้ง “กรมป่าไม้”
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
คำให้การชาวกรุงเก่า: แปลจากฉบับหลวงที่ได้มาจากเมืองพม่า. [ม.ป.ท.]:โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2468. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:47669.
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2567