ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
“พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช” ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีความพิเศษตรงที่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 2 ครั้งนี้ เกิดในเวลาไล่เลี่ยกัน ครั้งแรก ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 เรียกว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร” โดยงดการแห่เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครและการรื่นเริงอื่น ๆ เพื่อไว้ทุกข์พระพุทธเจ้าหลวง
ก่อนที่จะมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชครั้งที่ 2 คือ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช” ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2454
นอกจากความพิเศษดังกล่าวแล้ว พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 2 ยังเป็นงานที่เชิญพระราชอาคันตุกะต่างประเทศและผู้แทนจากมิตรประเทศอื่น ๆ มากถึง 14 ประเทศ เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ไทย ที่มีพระราชอาคันตุะและอาคันตุกะมาเยือนมากที่สุด
“พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช” รัชกาลที่ 6 มีผู้ใดบ้าง?
การเชิญครั้งนั้นประกอบด้วย 14 ประเทศ ได้แก่ พระราชวงศ์จากราชอาณาจักรสวีเดน, จักรพรรดิรัสเซีย, ราชอาณาจักรเดนมาร์ก, สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น รวม 10 พระองค์
เอกอัครราชทูตพิเศษ ผู้แทนพระเจ้าแผ่นดินและประธานาธิบดีจากฝรั่งเศส อิตาลี สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ฮอลันดา (เนเธอร์แลนด์) เบลเยียม สเปน และนอร์เวย์ รวม 9 คน
โดยเจ้าชายวิลเลียม วสุเดอมาเนีย แห่งสวีเดน ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 5 แห่งสวีเดน ทรงพระนิพนธ์ ถึงการแสดงในพระราชพิธีดังกล่าว ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2454 ว่า…
“…มาถึงขนาดนี้ ไม่อยากจะให้ท่านผู้อ่านคาดหวังว่า จะต้องได้พบกับความสนุกสนานสมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็คงจะได้เพลิดเพลินไปกับขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงามน่าตื่นตา หรือสถานที่อันวิจิตรโอฬารได้เป็นอันมาก…”
อ่านเพิ่มเติม :
- พระอรณพนาวาณัติก์ “พันท้ายนรสิงห์” สมัยรัชกาลที่ 6 เล่าวินาทีชีวิต เรือหวิดชน!
- “น้ำอภิเษกและน้ำสรงมุรธาภิเษก” ในพิธีบรมราชาภิเษก สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ใช้แม่น้ำจากที่ใด?
- เจ้าฟ้าสวีเดนและคณะนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกของ “หัวหิน” เมื่อ 100 กว่าปีก่อน
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
รัชดา โชติพานิช และบัณฑิต จุลาสัย. โรงโขนหลวง ณ สวนมิสกวัน. ใน ศิลปวัฒนธรรม กันยายน 2567.
Westernization ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช แตกต่างจากโบราณราชประเพณีอย่างไร?
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 29 กันยายน 2567