ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
บ่อยครั้งที่ได้ยินคำพังเพยที่ว่า “หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์” เขาว่ากันว่าคบไม่ได้จริงหรือ?
“หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์” ถูกนำมาสร้างเป็นนวนิยายเรื่อง ชายสามโบสถ์ ขึ้น และปรากฏในคำนำของไม้ เมืองเดิม ในการพิมพ์เรื่องชายสามโบสถ์ว่า
ผู้ใหญ่ท่านกล่าวว่า “ชายสามโบสถ์” เป็นผู้ที่ใครยากจะคบหาหรือคบไม่ได้เสียเลย ซึ่งก็เนื่องจากในสมัยที่กล่าวคำนั้น เมื่อผู้ใดได้เข้าวัดบวชเรียนเพราะสำนักศึกษาคงมีอยู่ตามวัดนั่นเองจึงเป็นผู้ฉลาดเฉลียว รู้ธรรมะสูงกว่าชาวบ้านสามัญ
แต่หากการบวชบ่อยสึกบ่อยย่อมทำให้ผู้อื่นเล็งไปว่าเป็นคนเหลวไหล สิ้นหนทางสิ้นคิดที่จะเป็นฆราวาสก็จำเป็นต้องผินหน้าเข้าวัดเพื่อล้างชั่วหรือจ้องโอกาสและช่องทางที่จะบ่ายหน้าสู่เพศฆราวาสอีก
และเป็นคำคู่กันไปกับ “หญิงสามผัว” ก็น่าจะมีความหมายเป็นทำนองเดียวกันว่า หญิงซึ่งมีเหย้าเรือนลูกผัวไปแล้วและมีอีกแลเลิกร้างกันไปอีก ก็ย่อมจะมีผู้เล็งเห็นว่าหากหญิงดีไหนเลยจะเกิดการเลิกร้างและได้เสียกันบ่อยอย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่ง การมีสามีมากก็ย่อมจะรู้และชำนาญในเล่ห์ผัวเล่ห์เมียมากขึ้นพร้อมมารยาสาไถยตามส่วน
นี้เป็นเพียงความหมายของการตีความคำพังเพยที่ใช้เปรียบเปรยเท่านั้น หากจะมองว่า “หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์” นั้นคบไม่ได้จริงหรือไม่คงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้คบกันเองแล้ว
อ่านเพิ่มเติม :
- “รักซ้อน” สร้างธรรมเนียม “ผัวเดียวหลายเมีย” ในสังคมไทยสมัยก่อน
- ผัวเมียเป็นกันเมื่อใด รู้ได้ไงว่าเป็นผัวเมีย? ดูกฎหมายผัวๆ เมียๆ ในรัชกาลที่ 5-7
- ตำนาน “โบสถ์ ก. ข. ค.” ชาตินิยมในศิลปกรรมไทยประเพณีภาคกลาง
- คติ “นาค” แปลงเป็นศาสนาคาร “โบสถ์-วิหาร” แผ่ปรกพระพุทธองค์
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
ที่มา :
หนังสือ “จินตนาการของ ไม้ เมืองเดิม ในนิยายอิงพระราชพงศาวดาร เรื่อง ขุนศึก”. ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. มติชน. 2546
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 21 ธันวาคม 2560