ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
“อารีย์” ถือเป็นย่านหนึ่งที่เต็มไปด้วยคนพลุกพล่าน อาจเพราะอยู่ในตัวเมือง กรุงเทพฯ รวมถึงมีร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญทางราชการมากมาย หากดูเส้นทางของรถไฟฟ้าบีทีเอสจะเห็นว่า สถานีอารีย์อยู่ระหว่างสถานีสนามเป้า และสถานีสะพานควาย
แล้วกว่าอารีย์จะมาเป็นหนึ่งย่านยอดฮิตของกรุงเทพฯ ผ่านอะไรมาบ้าง?
หากย้อนเวลาไปในช่วงรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 7 อารีย์ยังคงเป็นพื้นที่หนึ่งที่ไม่ได้มีความสำคัญมากนัก เนื่องจากในอดีตพื้นที่ที่ได้รับความนิยมมักจะอยู่ใกล้กับเส้นทางรถไฟ โดยในช่วงนั้น พื้นที่แถบนี้มักจะมีไว้เพื่อทำเกษตรกรรมเป็นหลัก
กระทั่งเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทศวรรษ 2480-2490 อารีย์ก็เริ่มกลายมาเป็นย่านสำคัญ เป็นย่านชานเมืองของกรุงเทพฯ เนื่องจากเกิดการตัดถนนประชาธิปัตย์ ที่เชื่อมไปถนนดอนเมือง และสร้างทางหลวงแผ่นดิน เชื่อมกรุงเทพฯ และลพบุรี
ต่อมาถนนประชาธิปัตย์เปลี่ยนชื่อเป็น “ถนนพหลโยธิน” ใน พ.ศ. 2493 เพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย
ก่อนที่ อารีย์จะเริ่มมีสถานที่ทางราชการต่าง ๆ มากมายมาตั้ง เช่น กระทรวงการคลัง, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมประชาสัมพันธ์ รวมถึง สถานีโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง 5) จนได้ชื่อว่า “เมืองราชการ”
เมื่อเข้าสู่ทศวรรษ 2530-2540 ก็เริ่มเป็นแหล่งรวมบริษัทหรือสำนักงานมากมาย ตามมาด้วยของกินสุดอร่อยและเป็นแหล่งที่พักอาศัยของคนทำงาน
ส่วนเหตุที่ได้ชื่อว่า “อารีย์” ยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเพราะอะไร
อ่านเพิ่มเติม :
- เปิดที่มาชื่อ “สามย่าน” แหล่งเรียน แหล่งเที่ยว ศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญ ของ กรุงเทพฯ
- หลักหนึ่ง-หลักสาม-หลักห้า อยู่ที่ไหน ใกล้กับ หลักสอง-หลักสี่ หรือไม่?
- “ถนนหลานหลวง” มีที่มาจากไหน ?
- เปิดที่มา ชื่อเขต “บางกะปิ” เกี่ยวอะไรกับของกินอย่าง “กะปิ” ไหม?
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
https://www.silpa-mag.com/history/article_54432
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 28 พฤษภาคม 2567