ไทม์ไลน์หลายพันปีของดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ประวัติศาสตร์ชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์

ชาวอิสราเอล ถูกกวาดต้อน ไปยัง กรุงบาบิโลน ก่อน ความขัดแย้ง อิสราเอล-ปาเลสไตน์ สมัยหลัง
ชาวฮีบรู (อิสราเอล) ถูกกวาดต้อนไปยังกรุงบาบิโลน, ผลงาน James Tissot (ภาพจาก The Jewish Museum)

การจะเข้าใจความขัดแย้งในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะกรณีพิพาทระหว่าง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์” นั้น จำเป็นต้องเล่าไทม์ไลน์ของ ชาวปาเลสไตน์ และ ชาวอิสราเอล ตั้งแต่ต้น ว่าพวกเขาเป็นมาอย่างไร อยู่ตรงไหนในหน้าประวัติศาสตร์ของดินแดนศักดิ์สิทธิ์

ปัจจุบันดินแดนที่เรียกว่าปาเลสไตน์และอิสราเอล หรือแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ในดินแดนที่มีชื่อในสมัยโบราณว่า “คานาอัน” ของภูมิภาคตะวันออกกลาง เป็นพื้นที่ราบตามชายฝั่งด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือติดประเทศเลบานอน ทิศใต้ติดประเทศอียิปต์ ทิศตะวันออกด้านบนคือประเทศซีเรีย และด้านล่างคือประเทศจอร์แดน

ความขัดแย้งระหว่าง อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่ปะทุขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ทำให้เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรงหลายระลอก ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก มีการจับตัวประกัน รวมถึงตัวประกันชาวไทย การโจมตีพื้นที่ต่าง ๆ ของอิสราเอลทั้งภาคพื้นดินและทางอากาศของกลุ่มฮามาส ตลอดจนการตอบโต้ด้วยความรุนแรงของกองทัพอิสราเอล

กว่าสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างฮามาสกับอิสราเอลจะมาถึงจุดนี้ ตลอดระยะเวลาหลายพันปีของดินแดนที่เป็นรัฐอิสราเอลและปาเลสไตน์ในปัจจุบัน ชาวปาเลสไตน์และชาวอิสราเอลอยู่ตรงไหนของหน้าประวัติศาสตร์บ้าง?

SILPA PODCAST ขอพาไปย้อนดูไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์ของชนชาติคู่ขัดแย้งแห่งดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ไล่เรียงเหตุการณ์ตั้งแต่ชุมชมแรกเริ่มในคานาอัน กำเนิดวงศ์วานอิสราเอล ที่มาของชาวปาเลสไตน์ การผลัดถิ่นของชาวยิว ไปจนถึงอุบัติการณ์แห่งความไม่ลงรอยระหว่าง 2 ชนชาติในโลกสมัยใหม่ จนทำให้ดินแดนศักดิ์สิทธิ์กลายเป็นศูนย์กลางข้อพิพาทที่รุนแรงและยืดเยื้อที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ติดตามรับชมได้ใน Silpa Podcast : ไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์ ปาเลสไตน์-อิสราเอล ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์

อ่านบทความ “ไทม์ไลน์ของชาวปาเลสไตน์และชาวอิสราเอล ในดินแดนศักดิ์สิทธิ์” ของ ดร. พรชัย สุจิตต์ (คลิก)

อ่านเพิ่มเติม : 

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่ 


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566