ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
ภูมิภาค “ตะวันออกกลาง” เป็นศูนย์กลางระหว่างโลกตะวันตกกับตะวันออก จึงทำให้หลายคนคุ้นชินและเรียกรวม ๆ ประเทศแถบนี้ เช่น อิสราเอล บาห์เรน เยเมน ดินเเดนปาเลสไตน์ (เวสต์เเบงก์เเละฉนวนกาซา) ว่าตะวันออกกลาง
แต่เคยสงสัยไหมว่า เหตุที่แท้จริงของชื่อทวีป “ตะวันออกกลาง” มาจากไหน?
จากข้อสันนิษฐานของนักวิชาการระบุว่า การเรียกกลุ่มภูมิภาคนี้ว่าตะวันออกกลาง มีผลพวงมาจากชุดความคิดในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมองว่าตะวันตกคือจุดศูนย์กลางโลก หรือที่เรียกว่า “Euro-centric” โดยขณะนั้นโลกวิชาการได้พิจารณาออกมาว่า ยุโรปตะวันออกหรืออาณาจักรออตโตมัน คือ ตะวันออกใกล้ ขณะที่เอเชียตะวันออก โดยเฉพาะจีน-ญี่ปุ่น ถือเป็น ตะวันออกไกล
จึงทำให้ท้ายที่สุด เอเชียตะวันตก คือ ตะวันออกกลาง และกลายมาเป็นชื่อคุ้นหู รวมถึงติดปากคนทั่วโลกตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน
อ่านเพิ่มเติม :
- รู้จัก “ที่ราบสูงโกลาน” พื้นที่ขัดแย้งอิสราเอล-ซีเรีย ที่ชาติมหาอำนาจต่างเข้ามาเอี่ยว
- ความขัดแย้ง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์” สงครามความรุนแรงที่ไม่จบสิ้น ไฉนเป็นเช่นนี้?
- เปิดที่มาของ “ดวงดาวแห่งดาวิด” ดาวบนธงชาติอิสราเอล
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
ปิติ ศรีแสงนาม และจักรี ไชยพินิจ. AMIDST THE GEO-POLITICAL CONFLICTS สมรภูมิพลิกอำนาจโลก. กรุงเทพฯ:มติชน, 2566.
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ. “ตะวันออกกลาง”, จาก <https://tica-thaigov.mfa.go.th/th/content/39442-๓-ตะวันออกกลาง?cate=5d7da8d015e39c3fbc0074a3>
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 12 ตุลาคม 2566