ที่มา | ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ กรกฎาคม 2549 |
---|---|
ผู้เขียน | ภาษิต จิตรภาษา |
เผยแพร่ |
ที่มาของสำนวนกินน้ำใต้ศอก
สำนวนกินน้ำใต้ศอก คุณฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ เคยบอกว่า เกิดแต่การกินน้ำด้วยกระบวย. น้ำที่รั่วออกมาตรงด้ามกระบวยจะไหลมาสู่แขนแล้วสิ้นสุดหยดลงตรงปลายข้อศอก.
จริงอยู่ แต่ก่อนนี้เราใช้กระบวยตักน้ำกิน, แต่ก็ไม่เห็นมีใครไปรอกินน้ำใต้ศอกใคร. มาเจ๋งเป้งเอาที่พี่เส (เสนีย์ เสาวพงศ์ หรือ ศักดิชัย บำรุงพงศ์). พี่เสบอกว่า เมื่อตอนเป็นทูตอยู่อินเดีย ได้เดินทางไปชนบท ที่บ่อน้ำแห่งหนึ่งได้เห็นคนกินน้ำแล้วมีคนอีกคนหนึ่งก้มหัวเอาปากไปรอกินน้ำที่หยดใต้ศอก. นี่ก็เป็นเรื่องของวรรณะ คนที่ไปกินน้ำที่ใต้ศอกเขานั้น คงจะเป็นจัณฑาล หรือไม่ก็ศูทร จึงจะไปกินน้ำร่วมบ่อกับเขาไม่ได้.
ความหมายที่ใช้กันในเมืองเรานั้น หมายถึง เมียน้อย. ผัวไม่ได้อยู่ด้วย, นานๆ จึงจะหลบเมียหลวงมาหาได้สักคืน, หรือไม่ก็ มาทุกวันแต่เฉพาะตอนพักเที่ยง, ต้องลักเขากิน ซ่อนเขากิน จะเต็มอิ่มได้ยังไง.
อ่านเพิ่มเติม :
- “แม่ร้อยชั่ง” ถึง “งามทั้งห้าไร่” สำนวนชมสาวๆ ในอดีต
- “ดวงไม่ถึงฆาต” ที่มาของสำนวนไทย ติดปากจากวัฒนธรรมอินเดีย?
- สำนวน “ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ” หมายถึงอะไร “เจ็ดย่านน้ำ” มีอะไรบ้าง?
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
หมายเหตุ : คัดจากตอนหนึ่งของบทความ “ที่มาของคำบางคำ” เขียนโดย ภาษิต จิตรภาษา ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับกรกฎาคม 2549
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560