ผู้เขียน | เสี่ยวจิว |
---|---|
เผยแพร่ |
ชวนรู้จัก “ชาเค็มทรงเครื่อง” เครื่องดื่มกึ่งของว่างที่ได้อิทธิพลจาก “จีนแคะ”
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึง “ชาจีน” เครื่องดื่มแก้กระหายที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวจีน เรามักคิดถึงเครื่องดื่มร้อนๆ สีเหลืองอ่อน, สีน้ำตาลแดง, สีเขียวอ่อน ฯลฯ ตามแต่ละชนิดของชา ที่มาพร้อมกับกลิ่นหอมอ่อน และความชุ่มคอ เมื่อดื่มกิน
แม้วันนี้พืชที่นำมาทำเป็น “ชา” จะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงใบชา แต่มีพืชชนิด รวมถึงผลไม้ แต่รูปแบบก็คงไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนักนั้นคือ ชงด้วยน้ำร้อนๆ แล้วดื่ม หรือเติมน้ำแข็งเพื่อเป็นเครื่องดื่มเย็น
แต่สำหรับคนจีน “ชา” ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เครื่องดื่มแก้กระหายแบบที่เราคุ้นเคย ชาบางชนิดยังเป็น “เครื่องดื่มกึ่งๆ ของว่าง” ด้วย ผศ. ถาวร สิกขโกศล เคยเขียนอธิบายถึงชาดังกล่าวไว้ใน แต้จิ๋ว: จีนกลุ่มน้อยที่ยิ่งใหญ่ (สนพ.มติชน, 2554) ว่า ในคนจังหวัดซัวบ้วย มณฑลกวางตุ้ง หรือจีนซัวบ้วย มีการ “กิน” ชาชนิดหนึ่งที่แตกต่าง การ “ดื่ม” ชาจีนทั่วๆ ไป
จีนซัวบ๊วย มีความเป็นมาทางเผ่าพันธ์คล้ายจีนแต้จิ๋ว กล่าวคือเป็นเย่ว์โบราณผสมกับจีนจงหยวนจากฮกเกี้ยนเป็นหลัก ต่างกันที่จีนซัวบ้วยมีสายเลือดมองโกล (เมื่อครั้งที่บุกลงใต้มีบางส่วนตั้งรกรากอยู่ที่นี้) ร่วมอยู่ด้วย เนื่องจากจังหวัดซัวบ้วยมีพื้นที่ติดต่อกับถิ่นจีนแต้จิ๋ว จีนซัวบ้วยจึงใช้ภาษาแต้จิ๋วในการสื่อสาร ด้วยสำเนียงที่เฉพาะตัว ขณะเดียวก็รับอิทธิพลบางอย่างจาก “จีนแคะ” ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การ “กิน” ชา หลุ่ยเต๊ (擂茶-lèichá )
“หลุ่ยเต๊” หรือ “ชาเค็มทรงเครื่อง” ที่เรียกว่าชาชนิดนี้ ว่า “ทรงเครื่อง” เพราะมีส่วนประกอบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกุ้งแห้ง, ต้นหอม, ขึ้นฉ่าย, เกลือ, น้ำขิง, ถั่วงาคั่วบด ฯลฯ ขอยืนยันอีกครั้งว่าไม่ได้เขียนผิด และจริงๆ บางถิ่นอาจจะทรงเครื่อง หรือมีส่วนประกอบมากกว่านี้อีกด้วย ส่วนน้ำชาที่ใช้ส่วนใหญ่มักชาเขียว
และนี่ก็เป็นเป็นชาอีกอย่างที่เราไม่ “ดื่ม” แต่ “กิน” เพราะมีเครื่องเคราต้องเคี้ยวกินมากมาย
อ่านเพิ่มเติม :
- “แต๊” เครื่องดื่มแห่งชีวิต และมิตรไมตรี
- น้ำมะเน็ด หนึ่งในเครื่องดื่มน้ำอัดลมรุ่นบุกเบิกเมื่อร้อยกว่าปีก่อน
- “เหล้าอุ” เครื่องดื่มเลี้ยงแขกบ้านแขกเมืองของชาวภูไท
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
เผยแพร่ในระบบอนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563