ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
“ตลาดน้อย” ที่ “การะเกด” ไปสั่งทำกระทะ เพื่อใช้กิน “หมูกระทะ”
ใน คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง มีการจดบันทึกถึงตลาดในเมือง อยู่ภายในกำแพงพระนครศรีอยุธยา “รวมเข้ากันทั้งสิ้นเปนตลาด 61 ตำบล แต่ในจังหวัดกำแพงพระนครนั้นมีตลาดหกสิบเอดตลาด”
แอดมินเลยนำบันทึกที่ว่าด้วยตลาดน้อยมาให้อ่านกันครับ และแถมตลาดใหญ่ท้ายพระนครอีกหนึ่งตลาด
ตลาดน้อย ที่ “การะเกด” ในละครบุพเพสันนิวาส ไปสั่งทำกระทะ เพื่อใช้สำหรับกิน “หมูกระทะ” ทำไม “การะเกด” ต้องไปตลาดน้อย เมื่ออ่านเสร็จแล้วก็จะเข้าใจว่าว่าทำไม
ตลาดใหญ่ท้ายพระนคร
“ถนนย่านในไก่เชิงตภานประตูจีนไปถึงเชิงตะภานประตูในไก่ เปนตลาดใหญ่
มีตึกกว้าร้านจีนตั้งตึกทั้งสองฟากถนนหลวง
จีนไทยนั่งร้านขายของสรรพสิ่งของ เครื่องสำเภา เครื่องทองเหลืองทองขาว กระเบื้องถ้วยโถชามแพรสีต่างอย่างจีนแลไหมศรีต่างๆ เครื่องมือเหล็กแลสรรพเครื่องมาแต่เมืองจีนครบ
มีของรัปทานเปนอาหารแลผลไม้มาแต่เมืองจีน วาบรายในร้านขายที่ท้องตลาด
มีของสดขายเช้าเย็นสุกรเปดไก่ ปลาทเลแลปลาน้ำจืดปูหอยต่างๆ หลายอย่างพัน
เปนตลาดใหญ่ยวดยิ่งในกรุง ชื่อตลาดใหญ่ท้ายพระนคร อยู่ย่านในไก่ 1”
ตลาดน้อย (ตั้งอยู่ตรง M 12 อยู่ในกรอบสีน้ำเงิน ดูในแผนที่ด้านล่าง)
“ถนนย่านสามม้าตั้งแต่เชิงตภานในไก่กระวันออกไป จดถึงหัวมุมพระนครที่ชื่อตำบลหัวสาระภานั้น
จีนตั้งโรงทำเครื่องจังอับแลขนมแห้งจีนต่างต่างหลายชนิดหลายอย่าง
แลช่างจีนทำโต๊ะเตียงตู้เก้าอี้น้อยใหญ่ต่างต่างขายออกไป
ช่างจีนทำถังไม้ใส่ปลอกไม้แลปลอกเหล็ก ถังใหญ่น้อยหลายชนิด ขายชาวพระนครรับซื้อไปใช้ต่างนางเลิ้ง
แลทำสรรพเครื่องเหล็กต่างต่าง ขายแลรับจ้างตีเหล็กรูปพรรณ์ตามใจเชาเมืองมาจ้าง
แลมีตลาดขายของสดเช้าเย็น ในท้ายตลาดตั้งแต่หัวโรงเหล็กต่อไป จนถึงประตูช่องกุดท่าเรือจ้างข้ามไปวัดเจ้าพระนางเชิง ชื่อตลาดน้อยอยู่ในย่านบ้านสามม้า”
อ่านเพิ่มเติม :
- “พรหมลิขิต” จะชักนำคำว่า “ออเจ้า” กลับมาฮิตติดปากกันอีกครั้ง
- นาทีชีวิต “ท้าวทองกีบม้า” หลังพระเพทราชายึดอำนาจ นางหาเลี้ยงชีพ-เอาตัวรอดมาอย่างไร?
- เปิดบันทึกสาเหตุที่ทำให้ “ท้าวทองกีบม้า” ต้องทำ “ขนมหวาน”
ข้อมูลจาก :
คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง พิมพ์อยู่ใน แถลงงานประวัติศาสตร์เอกสารโบราณคดี ปีที่ 3 เล่มที่ 2 พ.ศ. 2512
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 8 มีนาคม 2561