“โหลน” คำใช้เรียกโคตรของตระกูล ไม่มีจริง แล้วมาจากไหน ต้องใช้อย่างไรให้ถูก?

เด็ก กำลังซื้อของ ที่ ตลาด ลูก หลาน เหลน โหลน คน ไทย
เด็ก ๆ กำลังซื้อของที่ตลาด (ภาพ : collections.lib.uwm.edu)

เมื่อต้องท่องโคตรของ ตระกูลไทย จะต้องเจอประโยค “ลูก” มา “หลาน” มา “เหลน” แล้วก็ “โหลน” แต่รู้หรือไม่ว่าคำว่า “โหลน” ไม่มีปรากฏในการนับลำดับ ตระกูลไทย ทั้งไปค้นในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ก็ไม่ค้นพบคำนี้และความหมายเลยแม้แต่น้อย 

แล้วคำว่า โหลน มาจากไหน?

คำว่าโหลน มาจากเพลง “เราสู้” ที่มีประโยคหนึ่งร้องว่า “…ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย”

จากท่อนเนื้อเพลงนี้เองทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า เมื่อมี ลูก หลาน และเหลน แล้ว ก็จะต้องมีโหลน ซึ่งความจริงแล้ว การเรียงลำดับวงศณาญาติของไทย จะเรียงลำดับจาก

1. เชียดหรือเทียด เป็นพ่อหรือแม่ของชวดหรือทวด

2. ชวดหรือทวด เป็นพ่อหรือแม่ของปู่ย่าตายาย

3. ปู่กับย่า เป็นพ่อกับแม่ของพ่อ / ตากับยาย เป็นพ่อกับแม่ของแม่

4. พ่อแม่ให้กำเนิด ลูก

5. ลูก ให้กำเนิดลูก เป็นหลาน

6. หลาน ให้กำเนิดลูก เป็นเหลน

7. เหลน ให้กำเนิดลูก เป็นลื่อ

8. ลื่อ ให้กำเนิดลูก เป็นลืบ

  1. ลืบ ให้กำเนิดลูก เป็นลืด

หลาน เหลน ลื่อ ลืบ ลืด จึงเป็นการเรียงลำดับญาติของไทยที่ถูกต้อง แต่คนไทยไม่ค่อยทราบ อาจเพราะคนรุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายจะทันแค่รุ่นเหลนเป็นส่วนใหญ่ คำว่าลื่อ ลืบ ลืด เลยแทบไม่ปรากฏและใช้กันทั่วไปเท่าไหร่นัก

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง : 

http://legacy.orst.go.th/?knowledges=โหลน-มาจากไหน-๘-มกราคม-๒๕


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 15 พฤษภาคม 2567