หอเจี๊ยะ ภาษาจีนแต้จิ๋ว ไม่ได้แปลว่า “อร่อย” อย่างเดียว?!

เด็ก จีน เจี๊ยะ กิน อาหาร หอเจี๊ยะ
เด็กผู้ชายกินข้าว ที่เซี่ยงไฮ้ (ภาพ : collections.lib.uwm.edu)

“หอเจี๊ยะ” หนึ่งคำในเพลง “ครัวคุณต๋อย” ไม่ได้แปลว่า “อร่อย” อย่างเดียว

เข้าไป Tiktok ช่วงนี้ทีไร ถ้าไม่ได้ยินเพลงเฉาก๊วยดวงฤดี เฉาก๊วยแท้ พร้อมเข้าถึงซิกเนเจอร์ ก็จะได้ยินเพลงประจำรายการอาหาร “ครัวคุณต๋อย” ที่ออนแอร์ทางช่อง 3 อาจเพราะจังหวะ เนื้อร้อง ทำนอง ที่อาจจะเรียกว่าหลอนหูหน่อย ๆ จึงทำให้คนเอามาเป็นแผ่นเสียงเล่นกันในสื่อออนไลน์เยอะมาก

ช่วงแรก คนเริ่มแกะเนื้อเพลงจากที่ได้ฟังแล้วพิมพ์ออกมาเผยแพร่ในสื่อโซเชียลค่อนข้องมาก แต่มีท่อนหนึ่งที่เหมือนรายการจะมาเฉลยทีหลังว่าฟังผิดกัน จาก “ฮ้อออออ~ เย่” ต้องเป็น “หอเจี๊ยะ” ที่แปลว่า “อร่อย” ในภาษาจีนแต้จิ๋ว

แต่ที่จริงแล้ว “หอเจี๊ยะ” หรือ “ฮอเจี๊ยะ” ไม่ได้แปลว่าอร่อยอย่างเดียว แต่รวมถึง “กินได้ไม่เป็นอันตราย” และเมื่ออ่านอีกเสียงหนึ่ง ว่า เฮ่าเจี๊ยะ (แต่ตัวจีนเดียวกันคือ 好食) ยังหมายถึงตะกละได้อีกด้วย

นอกจากนี้ คำว่า “เจี๊ยะ” ในภาษาแต้จิ๋วยังมีความพิเศษในตัว เพราะเจี๊ยะ แปลว่า กิน สามารถใช้เป็นคำกิริยากับอะไรได้หลายอย่าง (ไม่เหมือนจีนกลางที่จะมีแยกว่ากิน/ดื่มน้ำ 喝水 หรือกินข้าว 吃饭) เช่น กินข้าว (เจียะปึ่ง), กินน้ำ (เจียะจุ้ย), กินบุหรี่ (เจียะฮุงเกี้ย) หรือแม้แต้ใช้ในคำที่คนไทยคุ้นชินกันอย่าง “แปะเจี๊ยะ” 

นี่ยังไม่รวมคำอื่น ๆ ที่ประกอบไปด้วย เจี๊ยะ ซึ่งคนจีนแต้จิ๋วใช้กันจนชินปากไปแล้วอีกด้วย…

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง : 

เสี่ยวจิว. ตัวตนคนแต้จิ๋ว. กรุงเทพฯ: มติชน, 2554.


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 23 เมษายน 2567