ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
พระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางมารวิชัย ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 17-18 อยู่ในครอบครองของ The Metropolitan Museum of Art (The MET) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ข้อมูลในเว็บไซต์ www.metmuseum.org ว่า เป็นประติมากรรมโลหะผสมทองแดง หนัก 4.5 กิโลกรัม ต้นทางมาจากจังหวัดลพบุรี ประเทศไทย แต่พิพิธภัณฑ์ได้รับมอบจาก Iwona กับ Norbu Tenzing เนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปีของพิพิธภัณฑ์เมื่อปี 2019


The MET ยังบอกด้วยว่า พระพุทธรูปทรงเครื่อง หล่อขึ้นในละโว้ หรือลพบุรี ศูนย์กลางอำนาจขอมในพื้นที่ภาคกลางของไทย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 เป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะลพบุรี สะท้อนให้เห็นว่า งานศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาในละโว้ ณ ช่วงเวลานั้น ได้พัฒนาการสร้างพระพุทธรูปแบบทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของพระโพธิสัตว์ในนิกายมหายานแล้ว
แนวคิดดังกล่าวยังเกี่ยวข้องกับการสร้างหรือสถาปนาพระพุทธเจ้าให้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือพระจักรพรรดิราช สอดรับกับระบอบการปกครองในยุคโบราณ
ทั้งนี้ ในยุคที่ศิลปะปาละจากอินเดียแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการการสร้างพระพุทธรูปในศิลปะลพบุรีมักได้อิทธิพลจากศิลปะเขมรอีกทอดหนึ่ง แต่ทั้งหมดล้วนเป็นมรดกตกทอดจากสกุลช่างปาละแห่งอินเดียตะวันออกทั้งสิ้น
อ่านเพิ่มเติม :
- ใครคือ “Golden Boy” ? รู้จักพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ต้นวงศ์มหิธรปุระแห่งพิมาย
- ของหายต้องได้คืน! ประเทศไทยเคยได้โบราณวัตถุชิ้นไหนคืนอีกบ้าง นอกจาก “Golden Boy”?
- “Golden Boy” รูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ประติมากรรมสำริด ศิลปะเขมรแบบพิมาย ที่ไทย (เพิ่ง) ได้คืนจากสหรัฐ!
อ้างอิง :
The Metropolitan Museum of Art. Crowned Buddha. Retrieved January 3, 2024. From https://www.metmuseum.org/art/collection/search/832287?where=Thailand&ao=on&ft=*&offset=0&rpp=20&pos=17
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 5 มกราคม 2567