16 พฤษภาคม 2524 แถลงพบภาพเขียนสี “ผาแต้ม” สู่สาธารณะ

ภาพเขียนสี ผาแต้ม
(ภาพจาก www.matichon.co.th)

อันที่จริง ชาวบ้านทุ่ม ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี อาศัยริมฝั่งแม่น้ำโขง รู้จักและคุ้นเคยภาพเขียนสีบน “ผาแต้ม” มาช้านาน เพียงแต่ไม่เป็นที่เผยแพร่ต่อสาธารณะ

จนกระทั่งอาจารย์และนักศึกษา จากภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นําโดยนายศรีศักร วัลลิโภดม และนายพรชัย สุจิตต์ ลงพื้นที่สํารวจร่องรอยมนุษย์ในอดีตแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และไปพบเข้าในปี 2524

วันที่ 16 พฤษภาคม 2524 นายศรีศักรออกมาประกาศต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการว่า คณะสํารวจได้พบภาพเขียนมนุษย์โบราณ ซึ่งเป็นภาพวาดบนหน้าผาหินทรายริมฝั่งแม่น้ำโขง หันหน้าไปทางฝั่งลาว และถือเป็นภาพเขียนสีที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ

(ภาพจาก www.matichon.co.th)

ภาพเขียนสีที่ “ผาแต้ม” มีความยาว 200 เมตร สูงจากระดับแม่น้ำโขง 50 เมตร เป็นภาพมนุษย์ ภาพมือเด็ก ภาพมือผู้ใหญ่ ภาพสัตว์หลายชนิด อาทิ ช้าง ปลา กวาง มีสีแดง น้ำตาลเข้ม และสีดํา มีจํานวนนับร้อยภาพ คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 5,000-6,000 ปี

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


ข้อมูลจาก :

กองบรรณาธิการมติชน. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษ หนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549, สำนักพิมพ์มติชน ธันวาคม 2549


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 16 พฤษภาคม 2564