ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
15 กันยายน พ.ศ. 2435 ถือเป็น “วันศิลป์ พีระศรี” เนื่องจากเป็นวันเกิดศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี หรือชื่อเดิมคือ Corrado Feroci “บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย” ผู้ให้กำเนิด มหาวิทยาลัยศิลปากร
วันศิลป์ พีระศรี
ท่านเป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ที่มีผลงานและได้รับรางวัลมากมาย เข้ามารับราชการในประเทศไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) เป็นชาวอิตาลีสัญชาติไทย เกิดเมื่อวันที่ เกิดวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
พ.ศ. 2466 ศาสตราจารย์คอร์ราโด ได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ต้องการบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านศิลปะตะวันตก เพื่อฝึกสอนช่างไทยให้มีความสามารถในการสร้างงานประติมากรรมแบบตะวันตก ทางรัฐบาลอิตาลีจึงได้ยื่นข้อเสนอ โดยการส่งคุณวุฒิและผลงานของศาสตราจารย์คอร์ราโดให้สยามพิจารณา โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นบุคคลสำคัญในการคัดเลือกศาตราจารย์คอร์ราโดให้มาปฏิบัติงานในไทย
ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์คอร์ราโดจึงได้เดินทางเข้าสู่สยาม พร้อมกับภรรยาและบุตรสาว เพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ในปี พ.ศ. 2469
ด้วยคุณงามความดีของท่าน ทำให้วันที่ 15 กันยายนของทุกปี ถือเป็น “วันศิลป์ พีระศรี”
อ่านเพิ่มเติม :
- หนึ่งรอบศตวรรษ เฟโรจี สู่บางกอก กับงานบางชิ้นของ อาจารย์ศิลป์ พีระศรี
- “ถวัลย์ ดัชนี” กับงานศิลป์ที่ถูกกรีด “ยอมรับไม่ได้” ในไทย ถึงคำชี้แนะของศิลป์ พีระศรี
- อุดมคติใหม่ของ “ศิลปะคณะราษฎร” กับ ศิลป์ พีระศรี
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 15 กันยายน 2562