7 เม.ย. 1945 เรือรบยามาโตะ เรือประจัญบานทรงพลังสุดของญี่ปุ่นถูกจมในภารกิจไปไม่กลับ

เรือรบยามาโตะ เรือรบ ของ ญี่ปุ่น
เรือรบยามาโตะระหว่างการก่อสร้างในฐานทัพเรือคุเระ (Kure Naval Base) เมื่อเดือนกันยายน 1941 By Kure Naval Base [Public domain or Public domain], via Wikimedia Commons

เรือรบยามาโตะ เรือประจัญบานทรงพลังสุดของญี่ปุ่นถูกจมในภารกิจไปไม่กลับ 7 เมษายน 1945

หลังกองทัพสหรัฐฯ บุกยึดอิโวะจิมะ (Iwo Jima) ได้อย่างเบ็ดเสร็จในเดือนมีนาคม 1945 เป้าหมายต่อไปคือการบุกยึดโอกินาวะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาหมู่เกาะริวกิว ซึ่งถูกถล่มด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดมานานตั้งแต่เดือนตุลาคม 1944 ทำลายเครื่องบินรบของญี่ปุ่นไปแล้วนับร้อยลำ แต่บนโอกินาวะก็ยังมีทหารญี่ปุ่นประจำการอยู่ไม่น้อยกว่า 7.5 หมื่นนาย

ในวันที่ 1 เมษายน 1945 กองทัพสหรัฐฯ กว่า 6 หมื่นนาย เริ่มยกพลขึ้นบกที่บริเวณชายฝั่งตอนกลางฝั่งตะวันตกของโอกินาวะ สามารถยึดลานบินสองแห่งได้ในบริเวณใกล้เคียง วันที่ 5 เมษายน นายกรัฐมนตรีคุนิอะกิ โคอิโซะ (Kuniaki Koiso) ประกาศลาออก วันเดียวกันโซเวียตได้ปฏิเสธที่จะต่อสนธิสัญญาไม่รุกรานต่อกันกับญี่ปุ่น

เรือรบยามาโตะ แล่น ใน ทะเล
เรือรบยามาโตะทำการแล่นทดสอบในอ่าวซุคุโมะ เมื่อปี ค.ศ. 1941, via Wikimedia Commons

ญี่ปุ่นเริ่มปฏิบัติการตอบโต้กองทัพสหรัฐฯ ในโอกินาวะเมื่อวันที่ 6 เมษายน โดยไม่เพียงแค่การส่งเครื่องบินรบฆ่าตัวตายคามิคาเซะ 355 ลำ เข้าโจมตี แต่ยังส่งเรือรบยามาโตะ ซึ่งเป็นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดในโลกปฏิบัติ “ภารกิจไปไม่กลับ” ด้วยมีเชื้อเพลิงเพียงพอสำหรับการเดินทางขาเดียว เพื่อเผชิญหน้ากับกองทัพสหรัฐฯ เนื่องจากญี่ปุ่นกำลังอยู่ในภาวะขาดแคลนเชื้อเพลิง และการสนับสนุนทางอากาศก็มีอย่างจำกัด

เรือรบยามาโตะ ใน อู่ต่อเรือ ฐานทัพเรือ คุเระ
เรือรบยามาโตะระหว่างการก่อสร้างในฐานทัพเรือคุเระ (Kure Naval Base) เมื่อเดือนกันยายน 1941 By Kure Naval Base [Public domain or Public domain], via Wikimedia Commons
ในวันที่ 7 เมษายน 1945 เรือรบยามาโตะถูกโจมตีครั้งแล้วครั้งเล่าทั้งจากระเบิดและตอร์ปิโดทำให้เรือประจัญบานที่เป็นความภาคภูมิใจของกองทัพญี่ปุ่นจมลงพร้อมกับลูกเรือนับพันราย

เรือรบยามาโตะ ถูก ระเบิด
ภาพการระเบิดของเรือรบยามาโตะเมื่อวันที่ 7 เมษายน 1945 By Unknown US Navy personnel, via Wikimedia Commons

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


ข้อมูลจาก :

Encyclopedia Britannica และเว็บไซต์ History


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 7 เมษายน 2560