ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
นายพลตำรวจจัตวา หลวงอารักษ์ประชากร (ม.ล.ประสงค์ ดารากร) อดีตจเรตำรวจ เมื่อ พ.ศ. 2495 ได้กล่าวเตือน ตำรวจ ถึงเรื่อง “การจับตาย” ไว้หนังสือ “ตำรวจโบราณ” [อ้างอิงจาก เทพชู ทับทอง. “กรุงเทพฯ แห่งความหลัง, ห้างหุ้นส่วนจำกัด อักษรบัณฑิต (ไม่ระบุปีที่พิมพ์)] ว่า
“…ตำรวจควรระลึกให้มั่นไว้ว่า เรามีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยทีหน้าที่รักษาความศักดิ์สิทธ์ของกฎหมาย หน้าที่ของเราคือการจับกุมผู้กระทำผิดมาให้ศาลลงโทษ…จงจำไว้ว่า ตำรวจไม่ใช่เพชรฆาต ตำรวจไม่มีหน้าที่ฆ่าใคร เว้นแต่ในการต่อสู้กับผู้ร้าย ซึ่งเจตนาจะต่อสู้กับเราด้วยอาวุธร้ายแรง เป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำเพื่อป้องกันตัวเราเท่านั้น
ข้าพเจ้าขอย้ำคำนี้อีกทีว่า ตำรวจไม่ใช่เพชรฆาต…ตำรวจไม่ใช่ศาล ตำรวจมีหน้าที่แต่เพียงจับผู้กระทำผิดกฎหมายไปส่งศาลพิจารณลงโทษ ตำรวจไม่ใช่ผู้มีอำนาจเด็ดขาดลงโทษเสียเอง การที่ตำรวจจงใจเป็นผู้ตัดสินเสียเองเช่นนี้ เป็นเหตุที่ทำให้เกียรติตำรวจเสื่อมและไร้ค่าลงไปทุกวัน…
………….
ในข้อที่…ใช้ระบบซ้อมและยิงทิ้งนั้น ข้อนี้ข้าพเจ้ารู้สึกอายเหลือเกินที่จะกล่าวคำนี้ออกมาจากปากของข้าพเจ้าซึ่งเป็นตำรวจ…จากเหตุการณ์ที่ได้ปรากฏมาแล้ว…มีแกะดำในพวกเราได้ใช้ระบบนี้…”
อ่านเพิ่มเติม :
- “ตำรวจ” มาจากไหน? ทำไมเรียก “ตำรวจ”? ฟังจาก “จิตร ภูมิศักดิ์”
- ตำรวจคนแรกในไทย (สมัยรัตนโกสินทร์) ตร.ยุคต้นโดนชาวบ้านล้อ-แกล้ง ก่อนเป็นกิจการเต็มสูบ
- เบื้องหลังคณะราษฎรตั้ง “ตำรวจสันติบาล” และบทบาทตร.สาขาพิเศษในการเมืองหลัง 2475
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 6 ตุลาคม 2564