ผู้เขียน | วิภา จิรภาไพศาล |
---|---|
เผยแพร่ |
กรุงเทพฯ-เวนิสตะวันออก ในฝรั่งบันทึก แต่สมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งมาเห็นถึงกับอึ้ง
เฮอร์เบิร์ต วาริงตัน สมิธ (Herbert Warington Smyth) นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ เข้ามารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น เจ้ากรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา หรือกรมเหมืองแร่ ระหว่าง พ.ศ. 2434-2439 ก่อนมาเมืองไทย เขาได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับเมืองไทยที่ชาวต่างชาติมาเยือนก่อนหน้าเขาว่า “กรุงเทพ” เป็นเมืองที่สวยงาม เป็นเวนิสแห่งตะวันออก แต่เมื่อมาเห็นกรุงเทพฯ ตรงหน้าถึงกับอึ้ง โดยเขาบรรยายว่า
“แต่กรุงเทพฯ ที่ข้าพเจ้าเคยอ่านพบว่าเป็นเวนิสตะวันออกอันสดใส มีชีวิตชีวาด้วยปราสาทราชวังที่ฉาบทองอร่ามและวัดวาอารามอันวิจิตรงดงามนั้นอยู่ตรงไหนกันแน่ ที่ทอดตัวอยู่เบื้องหน้าเราจะมีก็แต่ร็อตเตอร์ดัมตะวันออก [จังหวัดที่เป็นเมืองอุตสาหกรรม การค้า และท่าเรือน้ำลึกทางใต้ของฮอลแลนด์] เท่านั้น
เรามองเห็นแต่แนวฝั่งโคลน ท่าจอดเรือสินค้าและสะพานเทียบท่าโรงสีข้าวไม่น่าดูที่กำลังพ่นควันโขมง บ้านช่องโกโรโกโสบนเสาไม้คดงอ เขื่อนคูและท้องร่องทั้ง 2 ข้างทาง เรือกลไฟร่วม 12 ลำ เรือบรรทุกข้าวของชาวบ้านที่เบียดเสียดเป็นแถวยาว แนวเสากระโดงสูงของเรือเอี้ยมจุ๊นที่มีใบเรือแบบเรือสำเภา และสุดท้ายที่เห็นแล้วน่าขนลุกที่สุดก็คือ กลุ่มควันสูงเสียดฟ้าที่ลอยอยู่เหนือปล่องไฟอัปลักษณ์ของโรงสี”
อ่านเพิ่มเติม :
- กลางคืนกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 5 น่ากลัว วังเวง และมีคนทำผีหลอก
- ทำไม “อยุธยา-กรุงเทพฯ” ถึงได้ฉายาว่าเวนิสแห่งตะวันออก?
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
เฮอร์เบิร์ต วาริงตัน สมิธ-เขียน, เสาวลักษณ์ กีชานนท์-แปล. ห้าปีในสยาม, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2562.
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566