ผู้เขียน | เสมียนนารี |
---|---|
เผยแพร่ |
จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ (ค.ศ. 1917-1963) อดีตประธานาธิบดีอเมริกา ผู้มีผิวสีแทนเหมือนอาบแดด ซึ่งเป็นที่นิยมชื่นชอบของชาวตะวันตก หากเบื้องหลังของสีผิวนี้กลับเป็นความเจ็บปวดที่เคนเนดี้พยายามปกปิด
ในสงครามปี 1943 เคนเนดี้เคยบาดเจ็บจากการช่วยลูกเรือหลายนาย เมื่อเรือลาดตระเวน พีที 109 จมมหาสมุทร ซึ่งเหตุหนึ่งที่ทำให้เขาป่วยเรื้อรังด้วยโรคปวดหลัง
ภายหลังแพทย์ยังวินิจฉัยพบว่า เคนเนดี้เป็นโรคแอดดิสัน อันเป็นความผิดปกติของต่อมหมวกไต แพทย์สั่งยาสเตียรอยด์ให้มากขึ้น ในขณะที่เคนเนดี้เริ่มประสบความสําเร็จแรกสุดได้เป็นสมาชิกสภาคองเกรส จากนั้นก้าวขึ้นเป็นวุฒิสมาชิก เขาปฏิเสธข่าวลือเสมอที่ว่าเขาเป็นโรคแอดดิสัน หากสุขภาพที่ย่ำแย่ทําให้เคนเนดี้ต้องเข้าโรงพยาบาลอย่างลับๆ ถึง 9 ครั้งในช่วงปี 1955-1957
ก่อนเคนเนดี้จะก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในปี 1961 ความเจ็บปวดกลายเป็นอาการประจำตัว บางครั้งอาการรุนแรงจนก้มตัวลงดึงถุงเท้าไม่ไหว หากตลอดเวลา เคนเนดี้พยายามเก็บเรื่องอาการป่วยเป็นความลับ แม้จะได้เป็นประธานาธิบดีแล้วก็ตาม เพราะต้องการรักษาภาพลักษณ์ที่ดี
ทุกวันเขาต้องกินยาแก้ปวดหลัง ยาแก้อาการเกร็งสำหรับโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และยาแอนตี้อฮิสตามีนรักษาอาการแพ้
รายงานทางการแพทย์จากห้องสมุดเคนเนดี้ บันทึกว่า เคนเนดี้เริ่มกินยา “คอร์ติโคสเตียรอยด์” มาตั้งแต่ปี 1937 เมื่อเขาอายุได้ 20 ปี เพื่อบรรเทาอาการลําไส้ใหญ่อักเสบ การใช้ยาดังกล่าวมีผลทำให้ภาวะกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกเสื่อม ภาพจากฟิล์มเอ็กซเรย์ซึ่งถ่ายเมื่อ 10 ปีให้หลังแสดงให้เห็นว่าเคนเนดี้มีกระดูกสันหลังหักหลายข้อ
ผลข้างเคียงหนึ่งจากการใช้ยา คือ ผิวหนังเป็นสีเหลืองทําให้ดูผิวคล้ำถาวรเหมือนอาบแดด แต่เบื้องหลังของมันเกิดจากการใช้ยาเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย
อ่านเพิ่มเติม :
- ทำไมรัฐบาลต้องช่วยชาวไร่ชาวนา? ย้อนดูดีเบต นิกสัน VS เคนเนดี ก่อนการเลือกตั้งปธน.สหรัฐฯ
- 22 พฤศจิกายน 2506 ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี ถูกลอบยิงที่รัฐเท็กซัส
- ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เข้าเยี่ยมคำนับท่านรีเย้นท์ (ช่วง บุนนาค) ผู้มากบารมีสมัยรัชกาลที่ 5
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
เรื่องจริงนอกบันทึกประวัติศาสตร์. บริษัท รีดเดอร์ส ไดเจสท์ (ประเทศไทย) จำกัด, กรกฎาคม 2549
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแกรเมื่อ 29 เมษายน 2565