รู้จัก “เวิร์ดจุฬา” โปรแกรมคอมพิวเตอร์สัญชาติไทยยอดฮิตเมื่อ 30 กว่าปีก่อน

เวิร์ดจุฬา จุฬาเวิร์ด ซียูไรเตอร์

เวิร์ดจุฬา หรือ จุฬาเวิร์ด มีชื่อเรียกทางการว่า “ซียูไรเตอร์ (CU Writer)” เป็นโปรแกรมประมวลคำสัญชาติไทย ทำงานบน MS Dos ใช้สำหรับพิมพ์เอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นโปรแกรมหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักคุ้นเคยเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว ที่เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โปรแกรมไมโครซอฟต์ เวิร์ด (Microsoft Word) ยังไม่แพร่หลายนัก

เวิร์ดจุฬา เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2532 จากความร่วมมือจากสถาบันบริการคอมพิวเตอร์ กับภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย สำนวน หิรัญวงษ์ ได้เริ่มการพัฒนาโปรแกรมขึ้น ซึ่งในระยะแรกเป็นการทดลองใช้เฉพาะภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาปีเดียวกันนั้นก็เริ่มประกาศให้เป็นโปรแกรมสาธารณะ และให้บุคคลทั่วไปคัดลอกใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

แม้เวิร์ดจุฬาเผยแพร่สู่สาธารณะแล้ว แต่ทีมผู้คิดค้นและพัฒนายังคงเดินหน้าปรับปรุงโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจุดบกพร่องต่างๆ เช่น สามารถปรับระยะระหว่างบรรทัดขณะพิมพ์ให้เหมาะสมกับจำนวนบรรทัดต่อหน้าได้, แก้ข้อบกพร่องในการพิมพ์กับเครื่องพิมพ์บางประเภทที่เคยเกิดขึ้น, แก้ปัญหาการพิมพ์ตาราง, พัฒนาเพื่อให้แสดงผลเป็นภาษาบาลี และภาษาต่างประเทศอื่นๆ เช่น สเปน ฝรั่งเศส เยอรมัน ฯลฯ

จนถึง พ.ศ. 2563 ทีงานจึงหยุดการพัฒนาโปรแกรมเวิร์ดจุฬา โดยเวอร์ชั่น 1.6 เป็นรุ่นสุดท้าย

หากสิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์และไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ เมื่อเปิดโปรแกรม หน้าจอจะแสดงหน้าต่างรุ่น และเสียงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่ 


ข้อมูลจาก :

สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ร้อยเรื่องจามจุรี 100 ปี จุฬาฯ, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ไม่ได้ระบุปีที่พิมพ์)


เผยแพร่ในระบบออนลน์ครั้งแรกเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565